ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เชื่อเวที "Post Rio+20" โอกาสสำคัญไทยพัฒนา "เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม" อย่างยืน

Logo Thai PBS
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เชื่อเวที "Post Rio+20" โอกาสสำคัญไทยพัฒนา "เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม" อย่างยืน

ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวในงาน "Post Rio+20 :ประเทศไทยมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" ว่า การที่หน่วยงานต่างๆต้องดำเนินภารกิจตามผลลัพธ์การประชุมRio+20 ไม่ใช่ "ภาระ" แต่ถือว่าเป็น "โอกาส" ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจัดงานสัมมนาวิชาการ "Post Rio+20:ประเทศไทยมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้สังคมตื่นตัวในการเข้าร่วมและทบทวนการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ของไทย

ดร.สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ผู้ดำเนินเวทีอภิปราย "ธรรมาภิบาลของการพัฒนาที่ยั่งยืน:อนาคตของประเทศไทยหลังRio+20" กล่าวว่า แม้ในวันนี้แต่ละภาคส่วนจะมีภารกิจที่ต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองRio+20 แต่อยากให้มองภาระเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพราะที่ผ่านมา มีการพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมาก แต่การบริโภคทรัพยากรไม่ได้ลดลง ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศกล่าวว่า ตนเองปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง โดยมีตัวเลขผลสำรวจมายืนยัน แต่ความจริงประเทศเหล่านั้นย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น

โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า สภาพัฒน์มีส่วนในการทำแผนบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับคณะรัฐมนตรี ซึ่งสามารถผสมผสานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนลงไปได้ทำให้มีช่องทางที่จะ เปลี่ยนนโยบายมาสู่การปฏิบัติบ้าง อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 11 มีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพมีเสถียรภาพและกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่หน่วยงานย่อยต่างๆ ก็ยังมีแผนปฏิบัติงานของตนเอง เช่น แผนของกระทรวง ทบวง กรม ที่อิงกรอบพัฒนา แต่มีความอิสระอยู่ ซึ่งจะต้องทำให้หน่วยงานย่อย ๆ ต่างเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ และนำไปสู่การปฏิบัติระดับชุมชน

ขณะ ที่ ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า สถาบันได้พยายามขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นเวลากว่า 19 ปีแล้ว มีผลงานเช่น บัญชีรายการแห่งชาติว่าด้วยแห่งและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ธรรมมาภิบาลสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด การบริหารจัดการแนวกันชนคนกับป่า-ช้างกับคน เป็นต้น

ทั้งนี้การประชุม Rio+20 จัดขึ้นที่ประเทศบราซิลเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา เป็นการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการประชุมดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสแนวคิก "การพัฒนาที่ยั่งยืน" โดยมีหัวข้อหลักในหารประชุม 2 ข้อ คือ เศรษฐกิจสีเขียว และการขจัดความยากจน

ภายในเวทีแลกเปลี่ยนในช่วงเช้าประกอบด้วย Mr.Surendra Shrestha, Director, Focal Point for SDGs, Office of the Executive Coordinations for UN Conference on Sustainable Devolopement, Dr.Young-Woo Park, Regional Director, UNEP, Regional Office for Asia and the Pacific, ดร.วิจารย์ สิมาฉายา เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้อธิบายถึงการปรับเอาสิ่งที่ได้รับจากการประชุม Rio+20 มากำหนดแผนนโยบายในการดำเนินงาน เช่นในส่วนของสภาพัฒน์ที่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่าง ยั่งยืน


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง