ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

2 นักวิทย์ดีเด่น ปี 55 คิดค้น "ลดความรุนแรงการช๊อคหัวใจ-แก้โรคสมองเสื่อม"

Logo Thai PBS
2 นักวิทย์ดีเด่น ปี 55 คิดค้น "ลดความรุนแรงการช๊อคหัวใจ-แก้โรคสมองเสื่อม"

2 นักวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ ม.เชียงใหม่ และมหิดล ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากผลงานการลดความรุนแรงในการช็อคหัวใจ และการใช้สารเมลาโทนินช่วยรักษาโรคสมองเสื่อม

ศ.ดร.อมเรศ ภูมิรัตน์ ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การคัดเลือกนักวิทยาศาสตร์นั้นจะเลือกบุคลคลที่มีผลงานวิจัยที่โดดเด่น และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยและโลกได้ รวมไปถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรม อีกทั้ง เพื่อกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

โดยในปี 2555 มีนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 2 คน ได้แก่ ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการเต้นผิดจังหวะของหัวใจชนิดรุนแรง โดยคิดค้นวิธีการช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากการช็อคหัวใจ และศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีวโมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งวิจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนเมลาโทนินมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูเซลล์สมองที่เสื่อมสภาพลงที่สามารถแก้ไขปัญหาโรคอัลไซเมอร์ หรือพาคินสันได้ รวมไปถึงโรคสมองเสื่อมด้วย

นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 นักวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ได้แก่ ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง นักวิจัยพันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนัำงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจของไทย โดยใช้จีโนมเทคโนโลยี, ผช.ดร.สัมฤทธิ์ วัชรสินธุ์  อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำวิจัยการการสร้างสารอินทรีย์เพื่อสร้างต้นแบบยา และการคิดค้นการเซ็นเซอร์ตรวจจับสารพิษ และดร.วรวัตน์ มีวาสนา อาจารยืประจำภาควิชาฟิสิกส์ สำนักวิทยาศาสตร์ท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่คิดค้นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่นำแสงซินโครตรอนมาใช้ประโยชน์ในการดูโครงสร้างของอะตอม และโครงสร้างของธาตุต่าง ๆ

ด้านศ.ดร.สวัสดิ์ ตันตะรัตน์ ผู้อำนวยการกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวว่า ต้องการให้นักวิทยาศาสตร์ของไทยทุกคน เรียนรู้และศึกษาในสาขาที่สนใจอย่างต่อเนื่อง และก้าวทันโลกปัจจุบัน เพื่อให้การวิจัยมีความลึกซึ้ง และก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมให้มากที่สุด

ขณะที่ศ.ดร.ปิยะรัตน์ หนึ่งในผู้ทีได้รับรางวัล กล่าวว่า ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนการวิจัยในเมืองไทยให้มากกว่านี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง