มองบทบาท
นายศุภชัยกล่าวว่า จากหวังว่าเศรษฐกิจของปีนี้ (2555)จะโตที่ร้อยละ 3.5ก็ยังถือว่าค่อนข้างยาก ซึ่งหากจะเกิดขึ้นต้องมีปัจจัยอื่นๆ ร่มด้วยทั้งเศรษฐกิจทุกส่วนต้องดี ทั้ง อเมริกา ยุโรป รวมถึงไม่เกิดปัญหาอย่างภัยแล้ง ซึ่งองค์ประกอบทุกอย่างจะต้องดี มิฉะนั้นการที่เศรษฐกิจจะเติบโตที่ร้อยละ 3.5 ก็อาจจะเป็นไปไม่ได้
เลขาธิการอังค์ถัด ยังระบุว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้ (2555) จะโตเพียงร้อยละ 2.5 และปีหน้า (2556) อาจแย่ลงกว่าเดิม เนื่องจากหลายปัจจัยทั้งการลงทุนยังไม่พื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติขณะที่เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอาจล่มสลายได้ หากกรีซไม่ได้รับปฏิรูปหนี้สินอย่างจริงจัง ส่วนสหรัฐที่จะใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น จะส่งผลต่อมูลค่าการค้าโดยรวมของโลกให้ลดลง ด้านเศรษฐกิจเอเชีย แม้จะดูสดใสแต่ก็ต้องไม่ประมาท
นายศุภชัย เคยกล่าวไว้ว่า เศรษฐกิจไทยและอาเซียนเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด โดยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกถึงร้อยละ 70 ซึ่งนั่นแปลว่า ถ้าเศรษฐกิจโลกดี เศรษฐกิจไทยและอาเวียนก็จะดีตาม แต่หากเศรษฐกิจโลกมีปัญหา ก็อาจจะถูกกระทบด้วย ดังนั้น การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจึงมีความสำคัญ ซึ่งต้องผลักดันให้เกิดความเข้มแข็ง และสร้างกองทุนอุ้มเศรษฐกิจอาเซียน
นายศุภชัยเสนอความคิดอย่างต่อเนื่องว่า สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการในการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ ยกระดับให้ข้อตกลงความริเริ่มเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Initiative ที่ขณะนี้มีเงินอยู่ 240,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้เป็นกองทุนการเงินของเอเชีย เพื่อรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
เลขาธิการการอังค์ถัด กล่าวเสริมว่า ทุนสํารองระหว่างประเทศของเอเชียสูงมากซึ่งไม่ได้หมายถึงประเทศไทย แต่หมายถึงภาพรวมของเอเชียและหามองในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ มันเกินความจำเป็นที่จะเก็บไว้ในขณะนี้ โดยทุนสํารองระหว่างประเทศรวมกัน มีมากถึงร้อยละ 60 ของทุนสํารองระหว่างประเทศทั้งหมดในโลก อันดับ 1 จีน 2 ญี่ป่น 3 สิงคโปร์
นายศุภชัย ยังชี้ว่า อาเซียนควรขยายความร่วมมือกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อย่างจริงจัง ในกรอบอาเซียนบวก เพราะเศรษฐกิจโลกกำลังหันมาที่เอเชีย ขณะที่จีนและญี่ปุ่นกระตือรือล้นที่จะเข้ามาในอาเซียน เพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ในส่วนของไทยหากสามารถสร้างบทบาทการเป็นผู้นําอาเซียนได้ พร้อมทั้งแก้ไขปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ ก็จะเสริมเศรษฐกิจในประเทศให้มีความยั่งยืนในระยะยาว เร่งลงทุนด้านการค้นคว้าวิจัย และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
นับจากนี้ไปเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงมากขึ้น แต่การเติบโตจะถูกผลักดันจากเอเชียถึงร้อยละ 50 ดังนั้น ความหวังต่าง ๆ จึงอยู่ที่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี แต่เออีซีจะประสบความสำเร็จได้ ประเทศสมาชิกต้องร่วมกันสร้างมาตรฐาน ทั้งการค้า การลงทุน ตลอดจนการสร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาค