สืบสาวเหตุร้ายจาก “เหยื่อ” ภัยหนาว
โดย นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
ช่วงฤดูหนาว หลายพื้นที่ของประเทศไทยถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติเพื่อเตรียมรับมือกับภัยหนาว เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัดมีผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง
เมื่อสภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิต่ำหรือสภาพอากาศหนาวเย็นมากๆ ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงกว่าปกติ(เฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส หรือ 95 องศาฟาเรนไฮด์) ทำให้ระบบสมองและประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติรวมถึงการเต้นของหัวใจ และอาจเกิดภาวะไตวายได้ง่าย
นอกจากนี้ สภาพอากาศที่หนาวเย็นยังทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น และระบบความดันโลหิตจะเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงฤดูหนาวร่างกายจะมีระดับความดันสูงว่าฤดูร้อนประมาณ 5 มิลลิเมตรของปรอท และที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด จะมีระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นถึง ร้อยละ1
อาการที่มักพบในช่วงสภาพอากาศหนาวเย็น อาทิหนาวสั่น ผิวหนังซีดเชื่องช้า เฉื่อยชา อ่อนเพลีย สูญเสียการรับสัมผัส มึนงง พูดสับสน โดยอาการต่างๆ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสภาพอากาศในพื้นที่นั้นด้วย
“ภัยหนาว” เมืองไทย ป้องกันได้!
โดยทั่วไประดับความหนาวเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยอาจลดต่ำกว่าปกติแต่ไม่ถึงขั้นรุนแรงดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่ถึงขั้นอันตรายร้ายแรง ทำให้คนและสัตว์บาดเจ็บล้มตาย ยกเว้นการมีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย จากรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากภาวะอากาศหนาวในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 - เดือนกุมภาพันธ์ สืบค้นจาก www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_35.php
2554 พบว่า ผู้เสียชีวิตจำนวน 30 ราย มีเพียง2ราย เท่านั้น ที่ได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตจากอากาศหนาว โดยมีประวัติการดื่มสุราเป็นประจำ และนอนโดยไม่สวมเสื้อผ้าหนามากเพียงพอในการป้องกันความหนาวเย็น
ผู้สูงวัย เหยื่อ “ภัยหนาว” เป็นกลุ่มที่อยู่ภาวะเสี่ยงและต้องเฝ้าระวังคือ กลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยแล้ว ส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวร่วมด้วย จากข้อมูลผู้เสียชีวิตที่สงสัยเนื่องจากสภาวะอากาศหนาวเย็น พบว่า กลุ่มที่มีสัดส่วนเสียชีวิตมากที่สุดคือ กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปีมีประมาณ ร้อยละ 30.1 และอายุระหว่าง 50-59 ปีร้อยละ0
นอกจากนี้จากข้อมูลดังกล่าวยังพบว่า อายุโดยเฉลี่ยของกลุ่มผู้เสียชีวิตประมาณ 49 ปีผู้เสียชีวิตที่มีอายุมากที่สุดคือ 79 ปีและเด็กที่เสียชีวิตมีอายุน้อยที่สุดคือ 3 ปี
“หนาวตาย” นอกบ้านเกินครึ่ง! เป็นสถานที่ที่มีการระบุว่า ผู้เสียชีวิตมักเกิดเหตุขึ้นนอกบริเวณบ้านที่ผู้เสียชีวิตอาศัยอยู่ โดยจำแนกเป็นสวนสาธารณะ ร้อยละ 33.3 กระท่อม
ร้อยละ 13.3 ส่วนบริเวณห้องเก็บของในวัด รถโดยสาร และขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลมีสัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ 3.3
ส่วนสัดส่วนผู้เสียชีวิตภายในบริเวณบ้านพักหรือที่พักอาศัยมีร้อยละ 40โดยจำแนกเป็นบ้านพัก ร้อยละ 36.7 และโรงแรม ร้อยละ 3.3 ช่วงฤดูหนาว
“โรคประจำตัว” เหตุร่วมคร่าชีวิต กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวเย็น นอกจากกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว อีกกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ กลุ่มที่มีโรคประจำตัวมีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ ร้อยละ 53 โดยกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงมาก ได้แก่ โรคหัวใจและโรคลมชัก ร้อยละ 10 รองลงมา คือ โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคพิการทางสมอง และอาการปวดเมื่อย มีสัดส่วนผู้เสียชีวิตเท่ากันคือ ร้อยละ 6.7 (ดังภาพที่ 3)
อุบัติเหตุ-เมาสุรา เรื่องเสี่ยงที่เลี่ยงได้
สำหรับกลุ่มผู้เสียชีวิตที่สงสัย เนื่องจากสภาวะอากาศหนาว อันเกิดจากอุบัติเหตุ และโรคตับ/พิษสุรา มีสัดส่วน ร้อยละ 3.3 ซึ่งกล่าวได้ว่าทั้งสองปัจจัยเกิดจากความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางมากขึ้น และพยายามหลีกเลี่ยงในการขับขี่ยานพาหนะในช่วงหมอกลงจัด
ส่วนการดื่มสุราเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงสภาพอากาศหนาวเย็นจัด อาจทำให้เกิดภาวะร่างกายช็อค และหมดสติจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ยังอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลง อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ แม้ว่าสภาพอากาศหนาวของเมือง แม้ว่าสภาพอากาศหนาวของเมืองไทยที่เกิดขึ้นยังไม่รุนแรงมาก
ทว่า ที่ผ่านมา ยังพบรายงานผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวเย็นโดยผู้เสียชีวิตเกือบทุกรายมิได้เกิดจากสภาพอากาศโดยตรง แต่เกิดจากปัจจัยร่วมอื่นๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงอย่างการดื่มสุรา หรือการนอนผิงไฟทำให้สารพิษเข้าสู่ทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิต