ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับตาเอกภาพการบริหารจัดการน้ำ "กทม.- กบอ."

13 ต.ค. 55
14:41
109
Logo Thai PBS
จับตาเอกภาพการบริหารจัดการน้ำ "กทม.- กบอ."

ปัญหาด้านเทคนิคกรณีใช้กระสอบทรายหนุนท่อระบายน้ำ เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลายเป็นปัญหาถกเถียงจนถึงขั้นวิวาทะกันระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ และเหตุอุทกภัยหรือกบอ.เกือบ 2 สัปดาห์ บทสรุปคือการเข้าเจรจาทำความเข้าใจต่อกัน และต่างก็ยอมรับในการบริหารจัดการของแต่ละฝ่าย

                              

<"">

แต่กรณีปัญหาที่เกิดขึ้น นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ วิเคราะห์บริบทที่เกิดขึ้นแล้วสะท้อนว่า แผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลและกทม.ขาดเอกภาพและไร้ประสิทธิภาพในการสื่อสารร่วมงานกัน จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียกับประชาชน ในฐานะผู้รับข้อมูลและผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเสนอแนะให้ทั้ง 2 ฝ่ายทบทวนเหตุการณ์ในอดีต และยึดเป็นบทเรียน เพื่อเป้าหมายความเป็นจริงในการบูรณาการการทำงานหรือซิเกิลคอมมานในอนาคต
<"">
<"">

หลังปิดห้องเจรจากันแบบ 2 ต่อ 2 เพียงแค่ 10 นาที นายปลอดประสพ สุรัสวดี และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ออกมายืนยันว่า กรณีวิวาทะเรื่องกระสอบทรายในท่อระบายน้ำ ที่เคยมุมต่างมุมเพราะเทคนิคในการกริหารจัดการน้ำต่างกัน ก็เกือบจะสรุปว่าเห็นพ้องต้องกันและเข้าใจกันดีแล้ว แม้ก่อนหน้านี้เหตุความเข้าใจกับระหว่าง กบอ.กับ กทม.จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในข้อมูล

นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรม เห็นตรงกันว่า เทคนิคกระสอบทรายปิดล้อมพื้นที่ย่อยเป็นไปตามหลักการระบายน้ำ หากสภาพพื้นที่นั้น ๆ เป็นแอ่งกระทะและมีการยุบตัวของดิน แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงชั่วคราวและยังต้องทำควบคู่กับการใช้เครื่องสูบน้ำ

หากไม่มองประเด็นกระสอบทรายเป็นเรื่องทำลายความน่าเชื่อถือทางการเมือง ระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับกทม.จากพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเปิดศึกในสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ต้นปีหน้า และย้อนกลับไปดูเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ เมื่อปี 2554 จะเห็นว่า ผู้บริหารจัดการน้ำ ระดับชาติกับท้องถิ่นเกิดวิวาทะกันบ่อยครั้ง จากความไม่เข้าใจกันในแนวทางหรือข้อมูลการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ,การวางบิ๊กแบ็คหรือแม้แต่การแจ้งเตือนภัย กลายเป็นคำถามที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตถึงเป้าหมายการบริหารจัดการแบบบูรณาการหรือSingle Commardจะเกิดขึ้นหรือไม่

ไม่ต่างกับความเห็นของ รศ.ทวิดา กมลเวชช อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแนะว่า แนวทางการบริหารจัดการที่ดีที่สุด คือการนำข้อมูลของทั้ง 2 ส่วนมาวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งไม่เพียงบูรณาการความคิดของบุคคล ข้อมูล แต่ยังหมายถึงการทำงานแบบบูรณาการอย่างจริงจังอีกด้วย โดยกรณีปัญหาในอดีตควรเป็นบทเรียนและเป็นแบบอย่างที่จะป้องกันความเห็นต่างที่จะขยายผลเป็นวิวาทะหรือความขัดแย้งในอนาคต จนนำมาซึ่งผลเสียที่จะเกิดกับประชาชนได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง