“พ.ร.บ.ป้องกันทารุณสัตว์ฯ-โซเชียลมีเดีย” ตัวช่วยสำคัญลดการทำร้ายสัตว์ในสังคมไทย
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.55 ที่ผ่านมา หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเป็นเอกฉันท์จำนวน 325 ต่อ 0 เสียง รับหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ...ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และจัดการสวัสดิภาพสัตว์ของสังคมไทย โดยเฉพาะจุดสำคัญก็คือ ช่องโหว่ของกฎหมายที่ระบุบทลงโทษและการเอาผิดที่มีเพียงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีโทษปรับ 1,000 บาท และจำคุก 1 เดือน ซึ่งด้วยโทษทัณฑ์ที่ไม่รุนแรงนัก จึงทำให้ตลอดเวลาหลาย 10 ปี ยังคงพบเห็นการทารุณกรรมสัตว์ การทอดทิ้ง รวมไปถึงการจับสุนัขไปขายเพื่อรับประทานยังต่างประเทศ
อุดช่องโหว่กฎหมาย
นายสวรรค์ แสงบัลลังค์ เลขาธิการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย หรือ (TSPCA) ที่เผยว่า พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณฯ ถือเป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการทำร้ายสัตว์ และการจัดการสวัสดิภาพของสัตว์ในไทย ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายมีเพียงกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2545เท่านั้น ที่ครอบคลุมเฉพาะสัตว์ป่าและสัตว์สงวนเท่านั้น แต่ยังไม่ครอบคลุมช่องว่างที่เป็นปัญหาสำคัญ อาทิ สัตว์เลี้ยงที่ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง สัตว์จรจัด ฯลฯ ที่พบเห็นกันจนเป็นภาพชินตาทั่วไป ทั้งบนท้องถนน สถานที่สาธารณะ ตลอดจนศาสนาสถาน เช่น วัด
โดย เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านการพิจารณาในวาระที่ 3 และถูกประกาศใช้จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาในต้นเหตุได้ ทั้งเรื่องของการคุมกำเนิด การฝังชิพ และการจัดหาสถานที่ดูแลสัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง
“ที่ผ่านมากทม.เคยฝังชิพสุนัขแต่ก็ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด เพราะบางครั้งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคลหรือผู้เป็นเจ้าของ รวมไปถึงการทำหมันที่ในอดีตนั้นทำไม่ได้ แต่หากมีกฎหมายก็จะช่วยให้สามารถดำเนินการลดจำนวนหรือจัดระเบียบสัตว์ได้ดีขึ้น” นายสวรรค์ ระบุ
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง ในขั้นตอนการแปรญัติในวาระ 2 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่จะเพิ่มรายละเอียดของการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือสัตว์โดยจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อจัดตั้งสถานสงเคราะห์สัตว์ที่เร่ร่อน ถูกทอดทิ้ง เพื่อสามารถดูแลรักษา และคุมประชากรสัตว์ได้ รวมถึงการเพิ่มโทษโดย ความผิดในการทารุณกรรมสัตว์และจัดการสวัดิภาพสัตว์ไม่เหมาะสมนั้น จะอยู่ที่โทษปรับเป็นเงินจำนวน 20,000 บาท จำคุก 1 ปี หรือ ทั้งจับ-ปรับ ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น หากเทียบกับอดีตในการทารุณกรรมสัตว์จะอยู่ที่ ปรับ 1,000 บาท จำคุก 1 เดือน เท่านั้น
ทั้งนี้ การจัดตั้งสถานสงเคราะห์สัตว์ หรือ องค์กรต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแล รักษา หรืออนุรักษ์สัตว์ ให้เป็นระเบียบและถูกตั้งตามกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาของผู้ไม่หวังดีจัดตั้งองค์กรเพื่อฉ้อโกงทรัพย์สินโดยอ้างการช่วยเหลือสัตว์ ไปจนถึงการจับสัตว์มาเพื่อใช้เรี่ยไรหรือรับเงินบริจาค ซึ่งถือว่าเป็นการลดการทารุณกรรมสัตว์ในอีกทางหนึ่ง
รวมไปถึง การเพิ่มรายละเอียดในส่วนของสัตว์ป่าและสัตว์สงวนที่นอกเหนือจาก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ฯ แล้ว พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณฯนั้นจะมีส่วนเสริมของการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ที่รวมถึงการกักขัง การเลี้ยงดูสัตว์ที่ไม่เหมาะสม ตามที่พบเห็นได้ในตลาดจำหน่ายสัตว์ทั่วไป ซึ่งในอดีตมิได้มีกฎหมายที่มิได้ครอบคลุมในเรื่องดังกล่าว
“โซเชียลมีเดีย” ช่วยจับตา
นอกจากนี้ เมื่อมี กฎหมายที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ถือว่าเป็นเรื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง และเมื่อพบเห็นทางกทารุณกรรมสัตว์ สัตวุถูกทอดทิ้ง ประชาชนทั่วไปสามารถแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ทันที โดยมิต้องเป็นเจ้าของ-หรือผู้มีส่วนได้เสียเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นในที่สุด
หากเจ้าหน้าที่เพิกเฉย ก็ถือว่ามีความผิดฐนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายม.157 เนื่องจากมีบทบัญติของกฎหมายระบุไว้อย่างชัดเจนตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว
และเมื่อผสานกับข้อได้เปรียบของโซเชียลมีเดีย ก็สามารถถ่ายภาพบุคคุลที่ทารุณกรรมสัตว์ สัตวที่ถูกทำร้าย กักขัง ทอดทิ้ง เพื่อเผยแพร่ในเครื่อข่าย และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทันที เนื่องจากขณะนี้มีกฎหมายที่บังคับใช้แล้วนั่นเอง
เชื่อเปลี่ยนกระตุ้นให้คนรักสัตว์ได้
ขณะที่ ณิชกมล เตชะงามสุวรรณ หนึ่งในผู้ใช้เครือข่ายโซเชียล มีเดีย กลุ่ม “พลพรรคคนรักหมา (แมว) กลุ่มรังสิตคลอง 12” ที่ เผยว่า ที่ผ่านมาการช่วยเหลือสัตว์ที่บาดเจ็บ ถูกทอดทิ้ง ถูกกักขังเหล่านี้ จะเป็นการบอกต่อในกลุ่มคนที่รู้จักหรือรักสัตว์ ซึ่งหาก พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ก็คาดว่า จะช่วยให้สังคมไทยลดพฤติกรรมการทำร้ายทารุณสัตว์ไปได้ แม้ว่าจะอาจจะไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็เชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และวิธีคิดให้คนไทยหันมารักสัตว์มากขึ้น รวมถึงโทษที่มากขึ้น จะเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไปได้ทีละน้อย
“หากมี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ออกมาก็เชื่อว่า พฤติกรรมของคนในสังคมไทยจะค่อย ๆ เปลี่ยนไป เหมือนกับที่ การบังคับใช้สวมหมวดนิรภัยในการขับขี่ ซึ่งช่วงแรกผู้ขับขี่ก็ไม่เห็นด้วย แต่ในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ก็ยอมรับและสวมหมวกนิรภัยมากขึ้นเมื่ออยู่บนท้องถนน” ณิชกมล ระบุ
นอกจากนี้ ณิชกมล ยังกล่าวเสริมว่า การมีหน่วยงานสงเคราะห์ หรือมีกฎหมายออกมา ก็จะช่วยให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการแก้ปัญหาได้ เน่องจกาที่ผ่านมา เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับจึงทำให้ การป้องการการลดการทารุณกรรมสัตว์นั้นถูกมองข้ามหรือเพิกเฉยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะมีการกวดขันที่เข้มข้นหรือจับกุมอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่รุนแรงเท่านั้น
รวมถึงยังเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกที่สำคัญให้กับคนในสังคมไทย ให้หันมารักสัตว์และมีกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาการรวมตัวเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือสัตว์นั้น เป็นที่แพร่หลายและเริ่มต้นจากอินเตอร์เน็ตเท่านั้น และขยายตัวมากขึ้นในโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะช่วยให้การช่วยเหลือสัตว์หลากหลายมากขึ้น และมีความช่วยเหลือหลั่งไหลมามากยิ่งขึ้นจากเดิมที่มีเพียงบางกลุ่มที่ยังคงเล็กและช่วยเหลือได้เพียงบางส่วน ตามความเชี่ยวชาญหรือความสามารถทำนั้น อาทิ การหาที่อยู่ให้สัตว์,การทำหมัน,การให้อาหาร,เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่า การที่สภาผู้แทนราษฎรรับร่างในวาระแรก ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนกฎหมายฉบับสำคัญฉบับหนึ่ง คาดว่าจะสามารถผ่าน พ.ร.บ.ดังกล่าวฯในวาระที่ 2,3 ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
ทั้งนี้ นอกเหนือจากจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างความเข้าใจในสังคมไทยต่อสายต่าชาวโลกแล้ว ยังถือเป็นเครื่องสะท้อนจริยธรรมอันดีงามของสังคมไทยได้เป็นอย่างดีและมองสัตว์ในฐานะ“เพื่อน”ของมนุษย์นั่นเอง
ภาพประกอบ : อินเทอร์เน็ต