ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับตารอยเลื่อนคลองมะรุ่ย รอยเลื่อนมีพลัง หลังเหตุแผ่นดินไหว จ.พังงา

สังคม
7 พ.ค. 58
04:03
6,548
Logo Thai PBS
จับตารอยเลื่อนคลองมะรุ่ย รอยเลื่อนมีพลัง หลังเหตุแผ่นดินไหว จ.พังงา

รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยกำลังถูกจับตามองว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นรอยเลื่อนที่ปลดปล่อยพลังงานในทะเลอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่มีบางส่วนพาดผ่านบนบกในหลายจังหวัด แต่ไม่พบการปลดปล่อยพลังงานหรือแผ่นดินไหว ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาสรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหววานนี้ (6 พ.ค.2558) หลังเกิดแผ่นดินไหวมีอาฟเตอร์ช็อคตามมา 1 ครั้ง

วานนี้ (6 พ.ค.2558) สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่าเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 3.2 เกิดขึ้นช่วง 12.25 น. ในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จังหวัดพังงา หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 เมื่อช่วง 4.18 น.เช้าวานนี้ ซึ่งทำให้มี 3 จังหวัดรับรู้แรงสั่นสะเทือน ทั้งภูเก็ต พังงา กระบี่ แต่ถือเป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางไม่ลึกเพียงแค่ 4 กิโลเมตรเท่านั้น จึงไม่มีคำเตือนสึนามิ

นายบุรินทร์ เวชบรรเทิง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่าเกิดจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลังในทะลอยู่ไม่ห่างไกลจากภูเก็ตและพังงา แต่แผ่นดินไหวในทะเลครั้งนี้ ไม่เข้าเกณฑ์ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ เพราะอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง และการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่บริเวณนี้ไม่ได้เป็นในลักษณะแทนที่น้ำหรือเกิดในแนวดิ่ง แต่เกิดในลักษณะขัดเฉือนกัน ส่วนใหญ่แผ่นดินไหวใหญ่ในทะเลที่เสี่ยงต่อไทย ที่กรมอุตุนิยมวิทยาติดตามอยู่ตลอด 24 ชม. จะเป็นบริเวณเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นแนวมุดตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้

ทั้งนี้นักวิชาการด้านธรณีวิทยาระบุว่ารอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเป็นรอยเลื่อนที่ปลดปล่อยพลังงานในทะเลอยูเป็นประจำย่อมส่งผลดีกว่าการก็บสะสมพลังงานไว้ แต่ยังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงปลดปล่อยพลังอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเกิดหลังแผ่นดินไหวใน อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อปี 2555 ซึ่งวัดขนาดได้ 3.2 ซึ่งรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้อย่างชัดเจน และมีอาฟเตอร์ช็อคเกิดขึ้นอีก 22 ครั้ง

ขณะที่เพจศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน) รวบรวมสถิติการเกิดแผ่นดินไหวใน จ.ภูเก็ต และบริเวณใกล้เคียง นับข้อมูลตั้งแต่ขนาด 3.0 ขึ้นไป หรือเท่าที่รับรู้การสั่นสะเทือนได้ พร้อมแนวรอยเลื่อนที่ยังคงมีแรง คือ คลองมะรุ่ย ไว้ดังนี้

6   พ.ค. 2558 เวลา 04.18 น. บริเวณตอนนใต้ของเกาะยาว ขนาด 4.6 ความลึก 4 กม.
25 มี.ค. 2558 เวลา 05.32 น. บริเวณเกาะสิเหร่ ขนาด 4.0 ความลึก 23 กม.
20 ก.พ. 2558 เวลา13.15 น. บริเวณตอนใต้ของเกาะยาว ขนาด 4.0 ความลึก 2 กม.
16 ม.ค. 2557 เวลา 12.18 น. บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี ขนาด 4.0
16 เม.ย.2555 เวลา 16.44 น. อ.ถลาง ขนาด 4.3 ความลึก 10 กม.

โดยอ้างอิงข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่ปี 2555-2558


ข่าวที่เกี่ยวข้อง