ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภูมิรู้ สู้วิกฤต

Logo Thai PBS
เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภูมิรู้ สู้วิกฤต

ข้าวของเครื่องใช้ที่ผ่านกาลเวลาไม่เพียงบอกเล่าประวัติศาสตร์ หากยังสะท้อนภูมิความรู้ของผู้สร้างสรรค์ที่นำมาใช้ในยามวิกฤตต่างๆให้สามารถอยู่รอดและผ่านพ้นไปได้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาให้ได้เรียนรู้ในเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภูมิรู้ สู้วิกฤต

จ.แพร่ เป็นพื้นที่ที่ทหารญี่ปุ่นใช้เป็นทางผ่านไปพม่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติลง ชาวบ้านได้พบระเบิด 3 ลูก แล้วนำไปให้ที่วัด ซึ่งคุณสมบัติที่มีเสียงก้องกังวาล ก็ถูกนำมาทำเป็นระฆัง นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ให้เป็นถึงปัญหาของสงคราม ยังให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาด้วย

<"">
<"">

 

ให้เสียงก้องกังวานไม่ต่างจากระฆังจริงๆ หากนี่เป็นระเบิด 1 ใน 3 ลูก ที่ชาวบ้านจังหวัดแพร่เก็บกู้ได้จากลำน้ำตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ แต่เดิมชาวบ้านนำซากระเบิดมาตัดท้ายแล้วทำเป็นถังใส่น้ำใช้ล้างเท้าหน้าบ้าน แต่เห็นประโยชน์ที่เหนือกว่าและเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ จึงจัดพิธีแห่ลูกระเบิดนำไปมอบให้กับวัดในชุมชน เป็นที่มาของคำว่า แพร่แห่ระเบิด และกลายเป็นอีกสัญลักษณ์ของจังหวัดแพร่ที่ถ่ายทอดเรื่องราวครั้งประสบภัยสงคราม 1 ในข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ที่สร้างสรรค์ในช่วงเวลาวิกฤตจากภัยสงคราม ในเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภูมิรู้ สู้วิกฤต

"ชาวบ้านเขาเห็นว่ามันดัง กังวานเขาก็เอาไปให้ที่วัด ตอนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ ก็มีเด็กๆ ที่มาก็จะมาดู มาศึกษาเรื่องราวจากระฆังนี้" พัฒน์ อารินทร์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์วัดศรีทองคำ จ.แพร่

ขบวนแห่นางแมวที่สนุกสนาน เดินสายแห่รอบงานให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ประเพณีขอฝนของชาวอีสาน ไม่เพียงให้หลายคนได้ฟังเพลงเซิ้งสนุกๆอย่างใกล้ชิด ยังได้สัมผัสกับการพยายามอยู่รอดในภาวะฝนแล้งของชาวบ้านผ่านพิธีกรรมความเชื่อ ทั้งยังได้เรียนรู้ที่มาและความหมายผ่านอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีขอฝน

ในช่วงสงครามที่ชาวบ้านต้องเอาตัวรอด ข้าวของเสียหายไม่เว้นแม้แต่เครื่องนุ่งห่ม วัสดุจากธรรมชาติอย่างกาบกล้วย จึงถูกนำมาสานเป็นชุดสำหรับสวมใส่ // ความพยายามเอาตัวรอดอยู่ร่วมกับวิกฤตด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทยในอดีต สะท้อนสติปัญหาและการนำสิ่งรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สามารถอยู่ได้ไม่ว่าสถานการณ์ใด

<"">
<"">

 

"เราเห็นของหลายอย่างที่คนสมัยก่อนคิดค้น อย่างบางคนเขาคิดเรือแบบง่ายๆ เพื่อให้อยู่ได้ในน้ำท่วม บางทีเราก็เออ เวลามีปัญหา อย่างเช่น การดูพฤติกรรมของสัตว์ที่บอกภัยพิบัติได้ เราก็จำไว้ เพราะสามารถเอาไปใช้ได้" ปริญญา ปัญญานันท์ - ธนพร สมบูรณ์ ผู้ร่วมงาน

ประเพณีพื้นบ้านที่นำมาเป็นตัวชูโรงเรียกนักท่องเที่ยว อาจช่วยให้งานสลากภัตของชาวเหนือเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ขนาดและความสวยงามของสลากภัตจึงถูกให้ความสำคัญมากกว่าความหมายและคุณค่าที่แท้จริงของประเพณี ตัวอย่างวิกฤตวัฒนธรรมสะท้อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อวิถีท้องถิ่น

เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภูมิรู้ สู้วิกฤต จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 นำข้าวของ เครื่องมือเครื่องใช้ ถ่ายทอดภูมิความรู้ที่ช่วยขจัด ปัดเป่า บรรเทาปัญหาในแต่ละท้องถิ้นชุมชน ให้อยู่รอดในช่วงวิกฤต 5 เรื่อง ได้แก่ โรคภัยไข้เจ็บ สงครามการเมือง เศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา นำภูมิรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภูมิรู้ สู้วิกฤต จัดขึ้นจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง