นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียว่า เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 Biosecurity Australia ได้ออกประกาศเลขที่ 2012/23 เรื่องการทดสอบระบบใหม่สำหรับการจัดการความเสี่ยงด้านมาตรการความปลอดภัยของการนำเข้าปลาสวยงาม โ เพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของมาตรการด้านความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น ให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงที่ประเทศต้นทาง
นางปราณี กล่าวว่าในระบบใหม่นี้ ได้นำแผนการควบคุมดูแลสุขภาพของปลาที่นำเข้ามาในออสเตรเลีย (Arrival fish health surveillance program) มาใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของประเทศผู้ส่งออกในการส่งออกปลาสวยงามให้ได้ตามมาตรฐานของออสเตรเลีย โดยการดำเนินการภายใต้ระบบใหม่ประกอบด้วย
1. การตรวจสอบปลาสวยงามเมื่อไปถึงออสเตรเลีย
2. การสุ่มตรวจถุงปลาที่มีอัตราการตายและอัตราการเป็นโรคในระดับสูงเมื่อไปถึงออสเตรเลีย โดยปลาที่เหลือจะถูกทำลายหรือส่งกลับ
3. การส่งตัวอย่างปลาเพื่อการตรวจสอบ และปล่อยปลา หากไม่พบความผิดปกติ
4. ตัวอย่างปลาที่สุ่มจะส่งไปห้องปฎิบัติการเพื่อตรวจสอบด้านสุขภาพทั่วไป และโรคเฉพาะทาง เพื่อหาโรคที่เป็นอันตราย
5. นำผลการตรวจมาวิเคราะห์และดำเนินการขั้นตอนต่อไปเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่ประเทศต้นทาง
อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวอีกว่า ไทยมีการส่งออกปลาสวยงามเฉลี่ยปีละประมาณ 3,500 ตัน มูลค่าประมาณ 630 ล้านบาท ในปี 2555 (มค.-ตค.) มีการส่งออก 1,520 ตัน มูลค่า 514.8 ล้านบาท โดยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับหนึ่ง ปริมาณ 191 ตัน มูลค่า 91.3 ล้านบาท อันดับ 2 ฮ่องกง ปริมาณ 422 ตัน มูลค่า 49.1 ล้านบาท และอันดับ 3 จีน ปริมาณ 35 ตัน มูลค่า 42.5 ล้านบาท ซึ่งไทยส่งออกปลาสวยงามไปยังออสเตรเลียเป็นอันดับ 17 ปริมาณ 28 ตัน มูลค่า 7.8 ล้านบาท ทั้งนี้ผู้ส่งออกสินค้าไปออสเตรเลียควรระมัดระวังในการส่งออกสินค้าดังกล่าวให้มากขึ้น และผู้ส่งออกสินค้าปลาสวยงามสามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.daff.gov.au/ba/ira/current-animal/ornamental_finfish/trial-of... และ http://www.daff.gov.au/__data/assets/pdf_file/0004/2222167/BA-2012-23-Fi...