นักวิชาการต่างชาติ หนุนตั้งองค์กรอิสระดูแลสื่อ ป้องกัน
ในเวทีสัมมนา "ความท้าทายทางสังคมจากสื่อใหม่ และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล : บทเรียนจากสี่ภูมิภาคทั่วโลกสู่ประเทศไทย" รศ.ดร.ดอง ฮี ชิน จากประเทศเกาหลีใต้ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญกล่าวถึงการใช้สื่อใหม่ของคนในปัจจุบันว่า มีการกระจายตัวโดยที่ผู้ใช้มีส่วนในการกำหนดเนื้อหาและผู้ใช้เป็นใหญ่ในการ กำหนดทิศทางของเทคโนโลยี ที่ให้ผู้ใช้มีบทบาทสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูล อย่างเช่น การคิดเทคโนโลยีใหม่ของสตีป จ๊อบส์ ที่ถึงแม้ว่าจะเสียชีวิตไปแล้วแต่ยังคงมีอิทธิพลในการสะท้อนแนวทางของ ยูสเซอร์ เซ็นเตอร์ (user center)
นอกจากนี้ รศ.ดร.ดอง ฮี ชีน ยังกล่าวถึงมุมมองเรื่องของประสบการณ์การใช้ของผู้ใช้แต่ละคนที่ไม่เหมือน กัน และนำมาแชร์กันซึ่งก่อให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากปัจจุบันสังคมเรามีความเชื่อมโยงกัน ยืดหยุ่น มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
สำหรับเรื่องของการกำกับดูแลด้านสื่อสารมวลชนนั้น รศ.ดร.ดอง ฮี ชิน กล่าวว่าระบบยังเป็นลักษณะแยกส่วน เป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ยังไม่มีหน่วยงานที่ตั้งมาเพื่อกำกับดูแลทั้ง หมดแบบควบรวมเพราะการดูแลในขณะนี้ไม่เชื่อมโยงกัน จึงทำให้เกิดช่องโหว่
ด้าน รศ.ดร.คริสโตเฟอร์ มาสเดน จากประเทศอังกฤษกล่าวถึงการกำกับและควบคุมดูแลร่วมกันระหว่างรัฐและองค์กร เอกชนหรือองค์กรอิสระว่า ในปัจจุบันจะมีการตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อใช้ตรวจสอบกันเองหรือเรียกร้อง บางสิ่งบางอย่าง เช่น สมาคมเกี่ยวกับนสพ. ร้านหนังสือ เป็นต้น ซึ่งบางครั้งหลายหน่วยงานไม่มีการตั้งองค์กรขึ้นมาตรวจสอบจึงเป็นหน้าที่ของ รัฐบาล ที่จะต้องออกกฏหมาย หรือออกกฏเพื่อให้มีการจัดตั้งซึ่งหากเป็นในลักษณะนี้ก็อาจจะเกิดการแทรกแซง ได้อีกเช่นกัน
ดังนั้นจะต้องมีการหาจุดสมดุลของการดูแลร่วมกัน ด้วยการออกเป็นกฏหมายเพื่อควบคุมและบังคับใช้ ทั้งนี้จะต้องมีหน่วยงานที่จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการควบคุมของรัฐอีกขั้น หนึ่งเพื่อป้องกันการฮั้วกับหน่วยงานเอกชนในการแสวงหาผลประโยชน์
อย่างไรก็ตาม ในการกำกับดูแลร่วมกันนั้น ภาคประชาสังคมจะต้องมีส่วนร่วมในการกำกับดูแล รวมไปถึงต้องมีการแบ่งอำนาจในการกำกับดูแลระหว่างรัฐ และองค์กรอย่างชัดเจน เพื่อให้การบังคับใช้นั้นเกิดผลให้มากที่สุด