ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับตา การแข่งขันทีวี"ดิจิตอล" ปี 56

เศรษฐกิจ
20 ธ.ค. 55
13:40
123
Logo Thai PBS
จับตา การแข่งขันทีวี"ดิจิตอล" ปี 56

การแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ทีจะเกิดขึ้นในปีหน้า (56) รวมทั้งธุกิจสื่อทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลทีวีในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการคาดกันว่า ปีหน้าการแข่งขันในตลาดธุรกิจสื่อทีวีจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และโดยเฉพาะช่องทีวีดิจิตอลในระบบฟรีทีวี ที่จะมีเพิ่มอีกอย่างน้อย 48 ช่องนั้น อาจทำให้ราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาต มีหลายราคา เริ่มตั้งแต่ระหว่าง 100 ล้านบาท จนถึง กว่า 1,000 ล้านบาท ต่อ 1 ใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้รู้ว่า ผู้ประกอบการกิจการจะสนใจร่วมลงทุนหรือไม่

                        

<"">

นับเป็นอีกก้าวที่ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี ทำบันทึกความร่วมมือร่วมกับ กสทช.เพื่อทดลองระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ที่หลายช่องเริ่มทดลองออกอากาศแล้ว ในช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ตามกรอบ กสทช.กำหนดให้มีทีวีระบบดิจิทัล ในช่องฟรีทีวีเพิ่มอีกอย่างน้อย 48 ช่อง ซึ่งระบบนี้ จะทำให้ภาพมีความคมชัดสูง และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ก็ทำให้ทีวีลูกเล่นมากขึ้น
                       
<"">

ปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ประกอบกิจการ สนใจลงทุนทีวีดิจิตอล ก็คือ ข้อสรุปราคาตั้งต้นใบอนุญาตช่องธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งคาดว่า จะสรุปในอีก 3 เดือนนับจากนี้
<"">
<"">

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทที่ติดตามเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของทีวีดิจิตอล ประเมินว่า ทีวีดิจิตอลในไทย เกิดช้ามากว่า 10 ปีแล้ว จึงทำให้ ประชาชนหันไปเลือกรับชมฟรีทีวี ผ่านช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี เป็นหลัก ในปัจจุบันแทนการรับชมฟรีทีวีผ่านระบบอนาล็อก ที่ใช้ก้างปลา หรือ หนวดกุ้ง และอนาคตก็จะเป็นเช่นนี้ต่อไป แม้ทีวีดิจิตอลจะเกิดขึ้น
<"">
<"">

การเกิดของทีวีดิจิตอลในช่องฟรีทีวี โดยเฉพาะช่องธุรกิจ ที่กสทช.กำหนดให้มี 24 ช่อง จะทำให้เกิดการแข่งขันกันรุนแรง โดยบริษัทสื่อที่มีอยู่ในไทย มีแนวโน้มเข้าร่วมประมูลทั้งหมด ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เช่น เวิร์คพ้อยท์ แกรมมี่ อาร์เอส หรือ เนชั่น ซึ่งต่างก็มีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งด้านงบลงทุน การผลิตเนื้อหาป้อนช่องรายการ การส่งเสริมงานด้านบริการ หรือ อีเวนต์ต่างๆ การฝึกอบรมบุคลากร หรือ ให้เช่าอุปกรณ์ถ่ายทำรายการ เพื่อแข่งขันทั้งในประเทศ รวมถึงการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558
  
แต่ปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนทีวีระบบดิจิตอล คือ ความคุ้มค่าการลงทุน และรายได้จากโฆษณา ขณะเดียวกัน ก็น่าจับตาว่า กลุ่มประเภทให้บริการชุมชน 12 ช่อง และสาธารณะ อีก 12 ช่อง ที่ไม่ต้องประมูลนั้น จะได้รับความสนใจเพียงใด
<"">
<"">

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบทีวีดิจิตอลจะทำให้ผู้บริโภคจะต้องหาเครื่องแปลงสัญญาณ ที่รับระบบดิจิตอลได้เท่านั้น ซึ่ง สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็เห็นว่า กสทช.ต้องหามาตรช่วยเหลือผู้บริโภค ที่มีกว่า 20 ล้านครัวเรือน

การเกิดของทีวีดิจิตอล 48 ช่อง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและแข่งขันในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก โดยมิติของการลงทุน จะเอื้อประโยชนต่อผู้ประกอบการรายใหญ่ จากฝั่งฟรีทีวีกลุ่มเดิมที่ต้องการรักษาตลาด รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ที่ต้องการขยายฐานลูกค้า พร้อมเห็นว่า จะมีครัวเรือนที่รับชมทีวีระบบดิจิตอล ตามเมืองใหญ่ มากถึงร้อยละ 80% และจะทำให้ กล่องรับสัญญาณ หรือ Set-top box ที่รองรับระบบนี้ เพิ่มขึ้นรวมกัน กว่า 7,000,000 เครื่อง แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนี้เป็นไปอย่างล่าช้า ไทยก็จะมีความเสี่ยง เกี่ยวกับอุปกรณ์การใช้งานในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากทั่วโลกจะยกเลิกผลิตอุปกรณ์ที่ใช้กับเทคโนโลยีในระบบอนาล็อก และยังส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาปีละ 60,000 ล้านบาท กระจุกตัวอยู่แค่ช่องฟรีทีวีเหมือนเดิม


ข่าวที่เกี่ยวข้อง