ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

การแข่งขันของ "เอสเอ็มอี" ในภูมิภาคอาเซียน

28 ธ.ค. 55
13:53
56
Logo Thai PBS
การแข่งขันของ "เอสเอ็มอี" ในภูมิภาคอาเซียน

ในปัจจุบัน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี มีประมาณ 1 ล้านรายทั่วประเทศ และขณะนี้กำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในปีหน้า ทำให้ประเมินว่าจะมีเอสเอ็มอีไม่น้อยต้องปิดตัว เพราะแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว และอาจจะสู้คู่แข่ง โดยเฉพาะในอาเซียนไม่ได้

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน กลายเป็นประเด็นร้อนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อถกเถียงที่ได้ยินกันมากที่สุดประเด็นหนึ่ง คือ ผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีไทยในอาเซียน ที่อาจต้องปิดกิจการเพราะไม่สามารถแข่งขันได้ นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิเคราะห์ว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันในไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 - 15

ประกอบกับปัญหาการพัฒนาคุณภาพแรงงานไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ได้ดึงให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยร่วงไปรั้งท้ายกลุ่มห้าเสืออาเซียนรุ่นใหม่ ที่ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

 

<"">
 
<"">

แม้ขีดความสามารถในการแข่งขันเอสเอ็มอีไทยจะลดลงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน แต่ อ.กิตติ ลิ่มสกุล นักเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับเชื่อว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะช่วยบรรเทาผลกระทบได้

ขณะที่แผนของภาครัฐในการเข้าสู่ AEC สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่เอสเอ็มอี ทั้งการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและการป้องกันความเสี่ยง โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคือการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม นายกิตติ ชี้ว่า รัฐบาลยังสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยในตลาดอาเซียนไม่เพียงพอ

 

<"">
 
<"">

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ รายงานว่า ภาพรวมของกลุ่มเอสเอ็มอีไทย และภาคการเกษตร มอง AEC ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ เพราะการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ทำให้แนวโน้มส่งออกสินค้าไปขายในอาเซียนมีเพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจาก AEC มากที่สุด เพราะกังวลการเข้ามาของคู่แข่งต่างประเทศและลูกค้าหันไปซื้อสินค้าจากเพื่อนบ้านมากขึ้น


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง