ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วัดอรุณฯเนืองแน่นตลอดวัน พุทธศาสนิกชนร่วมส่งท้ายปีเก่าวิถีพุทธ

สังคม
31 ธ.ค. 55
14:10
172
Logo Thai PBS
วัดอรุณฯเนืองแน่นตลอดวัน พุทธศาสนิกชนร่วมส่งท้ายปีเก่าวิถีพุทธ

พระปรางค์วัดอรุณฯ ไม่เพียงเป็นศูนย์รวมศรัทธา ยังป็นอีกสัญลักษณ์ของพระนคร ข่าวการชำรุดทรุดโทรมอยู่ในความสนใจของพุทธศาสนิกชนไม่น้อย สำหรับส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ และวิถีธรรม 3 ศาสนา เป็นกิจกรรมส่งท้ายปลายปี ที่เชิญชวนศาสนิกชนทุกศาสนาร่วมกิจกรรมของศาสนาที่ตนนับถือ และที่วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ก็เป็น 1 ในวัดที่ร่วมกิจกรรมนี้ด้วย

<"">
<"">

 

บรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งวัดอรุณฯขณะนี้เย็นสบาย และทัศนียภาพสวยงามมาก โดยเฉพาะกับองค์พระปรางค์สีสันหลากหลายด้วยกระเบื้องนับล้านชิ้น ที่ต้องแสงในยามค่ำคืน ยิ่งส่งให้สวยงามสะดุดตา และบริเวณนี้เอง เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในคืนนี้(31 ธ.ค.)

ภายในวัดยังมีสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าชมสักการะในวันสำคัญนี้ เช่น พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร มีประชาชนเข้าไปสักการะอย่างไม่ขาดสาย เพราะเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นผู้ปั้นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง และถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เนื่องจากเมื่อทรงดำรงพระยศเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ 1 ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม และได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ โดยถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญ และมีพระบรมราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

<"">
<"">

 

พระปรางค์วัดอรุณฯ ไม่เพียงเป็นศูนย์รวมศรัทธา ยังป็นอีกสัญลักษณ์ของพระนคร ข่าวการชำรุดทรุดโทรมอยู่ในความสนใจของประชาชนไม่น้อย โดยกว่า 2 เดือน ที่บูรณะซ่อมแซมประติมากรรมคอม้าประดับยอดพระปรางค์วัดอรุณฯ ที่เคยหักหายไป 2 ชิ้น รวมทั้งใบหน้าเทวดาทรงม้าที่หลุดร่อน โดยใช้วิธีการปั้นเสริมด้วยปูนหมักแบบโบราณ จนได้งานที่มีความคงทนตามอย่างศิลปกรรมช่างยุคก่อน ถือเป็นการบูรณะคราวสำคัญในรอบปีที่กรมศิลปากรยังคงแนวทางอนุรักษ์องค์พระปรางค์ที่มีอายุกว่า 160 ปี

ในรอบปีที่ผ่านมา ข่าวความชำรุดเสียหายของโบราณสถานวัดอรุณเป็นที่สนใจค่ะ โดยเฉพาะประติมากรรมประดับองค์พระปรางค์ และการทรุดตัวของลานริมน้ำหน้าวัด ซึ่งงานซ่อมแซมเฉพาะหน้าเสร็จสิ้นเรียบร้อยค่ะ แต่ด้วยความที่วัดอรุณมีความเป็นมายาวนาน คู่มากับกรุงรัตนโกสินทร์ และยังสำคัญในแง่มรดกศิลปกรรมของชาติ ทำให้ปีหน้า(2556)จะเตรียมงานเริ่มต้นงานบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้ง

ช่วง 50 ปีที่ผ่านมาพระปรางค์วัดอรุณ ได้รับการบูรณะมาแล้ว 4 ครั้ง เป็นการบูรณะใหญ่ และซ่อมแซมส่วนที่ทรุดโทรมเสียหาย ขณะที่การล้างคราบเชื้อรา ไลเคนทั่วทั้งองค์ใช้เวลานาน และไม่เหมาะกับน้ำยาเคมี เนื่องจากอาจทำให้พื้นผิวเสื่อมสภาพ

การสำรวจพระปรางค์มณฑป พระปรางค์ประธาน ระเบียงบันได รวมถึงระบบไฟฟ้า เบื้องต้นคาดว่าอาจใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ด้วยงบประมาณต่อเนื่องราว 130 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม อนุมัติงบประมาณแล้ว 39.7 ล้านบาท บูรณะในปี 2556 คราวละครึ่งองค์ โดยเว้นองค์พระปรางค์ด้านหน้าริมน้ำเจ้าพระยาให้นักท่องเที่ยวยังเยี่ยมชมได้

<"">
<"">

 

"มีการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มทำจากทางทิศใต้ก่อน เพื่อไม่ให้กระทบกับการท่องเที่ยว" เจ้าคุณพระศากยปุตติยวงค์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณฯ

"อยากให้มีการดูแลบูรณะรักษาไปจากคนรุ่นเราด้วย คนต่างชาติก็ยังชื่นชม เราได้เห็นก็ยังภูมิใจ คนรุ่นต่อไปจะได้เห็นสิ่งที่ความสวยงามของประติมากรรม ศิลปกรรมโบราณที่คนในอดีตทำไว้" คณิติน บุญเต็ม นักท่องเที่ยว

<"">
<"">

 

ความสูงกว่า 80 เมตร และยังโดดเด่นด้วยลวดลายจากงานเขียนสี ปูนปั้น รวมถึงกระเบื้องเคลือบโบราณประดับรอบองค์ ทำให้พระปรางค์ที่ถอดแบบมาจากพระปรางค์วัดไชยวัฒนาราม อยุธยาเป็นโบราณสถานสำคัญ สัญลักษณ์ของวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ฐานพระปรางค์โครงสร้างฝีมือช่างโบราณยังมั่นคงอยู่ ส่วนโบราณสถานโดยรอบทั่วทั้งวัด อยู่ระหว่างจัดหางบดูแล เนื่องจากมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่มาก เช่น พระอุโบสถ โบสถ์น้อย หมู่กุฏิสงฆ์ และการบูรณะพระปรางค์ที่เริ่มในปีหน้า พร้อมไปกับศึกษาพฤติกรรมการรับแรงแผ่นดินไหว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง