อุปสรรคของนักเทนนิสอาชีพไทย
สืบเนื่องจากการแข่งขันเทนนิสรายการระดับแกรนด์สแลม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลี่ยน โอเพ่น, เฟร้นช์ โอเพ่น หรือยูเอส โอเพ่น ที่นักเทนนิสหญิงของไทย ส่วนใหญ่ตกรอบคัดเลือก มีเพียงแค่ วิมเบิลดัน ปี 2551 ที่ แทมมารีน ธนสุกาญจน์ เคยผ่านถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ได้เท่านั้น ในขณะที่ประเภทชายเดี่ยวมีเพียงภราดร ศรีชาพันธุ์ ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในระดับแกรนแสลม
เบญจมาศ แสงอร่าม อดีตนักเทนนิสทีมชาติไทย ให้สัมภาษณ์ว่านักกีฬาไทยหลายคนทำผลงานได้ดีในระดับซีเกมส์ หรือเอเชี่ยนเกมส์ แต่กลับไม่สามารถต่อยอดในการก้าวขึ้นไปเป็นนักเทนนิสอาชีพที่มีผลงานโดดเด่นได้ เนื่องมาจากขาดทีมงานหรือผู้มีประสบการณ์ในการวางแผนในช่วงรอยต่อจากนักกีฬาสมัครเล่นไปเป็นนักกีฬาอาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น นพวรรณ เลิศชีวกาญจน์ มือ 264 ของโลก ที่ได้แชมป์ระดับเยาวชนมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิมเบิลดัน ( ประเภทเดี่ยวและคู่ ), ยูเอส โอเพ่น ( ประเภทคู่ ), เฟร้นช์ โอเพ่น ( ประเภทคู่ ) แต่ปัจจุบันไม่สามารถเข้าไปติดอยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก ผิดกับ ลอร่า ร็อบสัน นักเทนนิสชาวอังกฤษ คู่ต่อสู้ของ นพวรรณ ตอนนี้เป็นมืออันดับที่ 53 ของโลก
ในขณะที่มีปัจจัยด้านเทคโนโลยีส่งเสริมเต็มที่เพราะนักเทนนิสมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยไม่เหมือนสมัยก่อนที่ ซึ่งนักกีฬาเทนนิสจะต้องทุ่มเทอย่างสุดความสามารถเพื่อพัฒนาฝีมือ ปัญหาของนักเทนนิสไทยคือความมุ่งมั่นตั้งใจที่ควรจะมีนั่นเอง อีกปัจจัยสำคัญคือการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งเทนนิสเป็นกีฬาที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการเดินทางไปแข่งขัน กว่าจะประสบความสำเร็จต้องใช้เวลา ทำให้หลายครอบครัวมีปัญหาในการสนุบสนุนระยะยาว
ปัจจุบันแนวโน้มของนักกีฬาดาวรุ่งมีจำนวนมากขึ้น ถ้ามองในรายละเอียดถึงสมาคมกีฬาแต่ละจังหวัด แต่ประเทศไทยยังขาดทีมงานที่จะวางแผนให้กีฬาดาวรุ่งให้ก้าวไปเป็นนักกีฬาอาชีพ เพราะเพียงงบประมาณจากลอนเทนนิสสมาคมไม่สามารถจะผลักดันให้นักกีฬาทุกคนไปแข่งขันได้