เทรนด้านดิจิตอลและโซเชียล มีเดีย ในวงการรถยนต์ ต้องเร็วและแรงถึงจะถูกใจผู้บริโภค
แผนกคอนซูเมอร์ อินไซด์ ของ แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป บริษัทด้านการสื่อสารการตลาด รายงานว่า ปัจจุบันกระแสการสื่อสารด้านดิจิตอลและโซเชียล มีเดีย มีบทบาทและอิทธิพลกับทุกวงการ และได้กลายมาเป็นช่องทางการทำตลาดของแบรนด์สินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการแข่งขันเพื่อให้คอนเทนท์น่าสนใจและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด เผยผลการศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคเกี่ยวกับความก้าวหน้าในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ พบว่า
Virtual Test Drive : ความก้าวหน้าของดิจิตอลเทคโนโลยีที่เรียกว่า Virtual Test Drive ทำให้ผู้บริโภคที่ชื่นชอบในรถยนต์ได้รู้สึกเหมือนทดลองขับรถรุ่นใหม่ๆในท้องตลาดโดยไม่ต้องไปนั่งอยู่ในรถจริงๆ โดยที่ผ่านมาแบรนด์รถยนต์ต่างๆ ได้หันมาใช้ Virtual Test Drive กันอย่างแพร่หลายทั้งในรูปแบบของจีพีเอส (GPS), แอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์ (Mobile apps) หรือ Augmented reality หรือการนำเอาโลกเสมือนมาผสานกับโลกจริง เพื่อสร้างความสนุกตื่นเต้นไปกับลูกเล่นใหม่ๆของการทดลองรถ เพิ่มกระแสให้กับรถที่กำลังจะออกสู่ตลาดและตอกย้ำ แนวความคิด (Philosophy) ของแบรนด์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Screen Hopping : ในปีนี้วงการรถยนต์สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคในการรับชมโฆษณาทางทีวี เพื่อสร้างกระแสความน่าตื่นเต้นให้กับรถรุ่นใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เรียกว่า ‘Screen Hopping’ มาทำให้ทีวีเกิดการสื่อสารแบบสองทาง หรือ Two-way communication โดยการใช้สื่อแบบ Cross-platform ระหว่างทีวีและสมาร์ทโฟน โดยที่ผู้ชมสามารถเป็นผู้กำหนดการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ในโฆษณาผ่านมือถือได้แบบเรียลไทม์ ในเวลารับชมโฆษณา
Brand Landmark : จากกระแสที่ผู้บริโภคชอบแสดงออกความเป็นตัวเองผ่านสังคมออนไลน์ (Social Networks) ส่งผลให้โซเชี่ยล เกมมิ่ง (Social gaming) กลายมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำหรับการสร้างแบรนด์ของบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้บริโภคได้สร้างสังคมใหม่ผ่านเกมส์ และยังช่วยให้รถรุ่นนั้นๆเป็นที่พูดถึงในสังคมออนไลน์ รวมถึงสื่อสารความเป็นแบรนด์ผ่านประสบการณ์ที่ใหม่และสนุก โดยมักจะสร้างแอพพลิเคชั่นเกมที่มีลูกเล่นของ Location-based services ซึ่งสามารถแชร์ผ่าน Social Network Platform เช่น ลิงด์อิน (Linkedin) หรือเฟสบุ๊ค (Facebook)
Live Interaction : ‘การมีส่วนร่วม’ กลายเป็นหัวใจหลักในการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสื่อโฆษณานอกบ้าน (Out Of Home- OOH) ปัจจุบันจะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ร่วม (Live-Interactivity) โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยให้คนเดินถนนสามารถโต้ตอบกับสื่อ OOH ไม่ว่าจะเป็นการทวีต (tweet),การข้อความ (sms) และการเช็ค-อิน (check-in) จากมือถือตนเองให้ไปปรากฏข้อความที่ป้ายบิลบอร์ดโฆษณา
Story behind Story : เนื่องจากผู้บริโภคปัจจุบันรับรู้ข่าวสารมากขึ้นและเริ่มมองหาความจริงจากแบรนด์ การทำหนังสั้นดิจอตอล (Digital short films) เพื่อสร้างกระแส Viral sharing ผ่านช่องทางออนไลน์ ถือเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในปีนี้ บรรดาผู้ผลิตรถยนต์พยายามนำเสนอ Digital short film ที่สื่อถึงวิสัยทัศน์ของตนเอง เพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อใจและเข้าถึงแบรนด์ผ่านมุมมองใหม่ๆ
Response-ability : การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนออนไลน์เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์เริ่มหันมาให้ความสำคัญอย่างมาก และทั้งนี้เพราะผู้บริโภคยุคนี้กล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์และชอบแชร์ความเห็นของตนให้ผู้อื่นรับรู้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ การสื่อสารแบบดิจิตอลต้องเป็นในลักษณะครอบคลุมทุกช่องทางจึงจะสามารถเข้าแก้ปัญหาและแสดงความรับผิดชอบต่อข่าวลือแง่ลบที่มักจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในชุมชนออนไลน์
Passionist Society : เทคโนโลยีและโซเชียล มีเดีย ทำให้ความนิยมของผู้บริโภคในการใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คและออนไลน์ แอพพลิเคชั่น ที่เปิดโอกาสให้พูดคุยและและพบกับกลุ่มเพื่อนใหม่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ เกือบทุกแบรนด์รถยนต์จึงใช้ โซเชียล เน็ตเวิร์คมาเป็นเครื่องมือในการสร้างคอมมิวนิตี้ ให้กับกลุ่มลูกค้าตนเองได้มาพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์ รวมถึงชักจูงให้คนอื่นมาเข้ากลุ่มที่ใหญ่ขึ้นและเกิดเป็นคอมมิวนิตี้ ที่เหนียวแน่นของลูกค้าที่ภักดีกับแบรนด์
Service at Hand : ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์ (Mobile application) มีส่วนในการสร้างจุดเด่นให้กับรถยนต์ ค่ายรถหลายค่ายได้นำแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์ มาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการในขณะขับขี่รถยนต์ เช่น แอพพลิเคชั่นที่ใช้วัดประสิทฺธิภาพการขับขี่ วัดกำลังของรถยนต์ บอกสถานะแบตเตอรี่ และให้ความช่วยเหลือเมื่อรถเสีย เรียกได้ว่าผู้บริโภคมีผู้ช่วยในการขับขี่อยู๋ในมือเลยก็ว่าได้
Driving Green : การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly) ได้กลายเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการปล่อยสารพิษในอากาศ ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์จึงหันมาตื่นตัวและใช้ออนไลน์เป็นสื่อในส่งเสริมการขับขี่แบบ Green Driving ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น อาทิ เว็บไซด์ในรูปแบบ Edu-tainment, การสร้างออนไลน์แอพพลิเคชั่น และ Virtual Gaming ต่างๆ เพื่อสื่อสารความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของแบรนด์ตนเอง
Racing towards Positivity : วงการรถยนต์เป็นอีกหนึ่งวงการหลักที่ผู้บริโภคคาดหวังจะเห็นความเคลื่อนไหวในการทำสิ่งดีๆเพื่อสังคมและผู้บริโภค Digital Platforms จึงกลายเป็นช่องทางสำคัญที่ผู้ผลิตรถยนต์ใช้เชื่อมโยงผู้บริโภคจำนานมากให้มามีส่วนร่วมกับแบรนด์ในสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ออกแบบ Co-Creation ร่วมกันระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคในการผลักดันกิจกรรมพัฒนาสังคมเชิงบวกจากออนไลน์สู่ออฟไลน์