ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เกษตรกร จ.ฉะเชิงเทรา หันมาทำเกษตรอินทรีย์ เลี่ยงสารพิษในยากำจัดศัตรูพืช

28 ก.พ. 56
04:00
363
Logo Thai PBS
เกษตรกร จ.ฉะเชิงเทรา หันมาทำเกษตรอินทรีย์ เลี่ยงสารพิษในยากำจัดศัตรูพืช

เกษตรกร ชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา ตัดสินใจเลิกใช้สารเคมีทำการเกษตร และหันมาทำเกษตรอินทรีย์ เเบบพึ่งพาตนเอง หลังสุขภาพย้ำแย่ และมีหลายโรครุมเร้า ขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ เลือกใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืชที่เป็นอันตราย เพื่อจะได้ผลผลิตต่อไร่เป็นจำนวนมาก

การระบาดของโรค และแมลงในพืชผลทางการเกษตร ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ อาจจะรับรู้ถึงอันตรายจากสารเคมีทั้ง 4 ชนิด ได้เเก่ คาร์โบฟูราน, เมโทมิล, ไดโครโตฟอส เเละอีพีเอ็น เเต่การระบาดของโรคในพืช เเละเเมลง ทำให้เกษตรกรหลายคน จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยิ่งนานวัน สารเคมีที่สะสมในร่างกายของพวกเขา ก็เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

น้ำค้าง มั่นศรีจันทร์ เกษตรกร ชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา วัย 70 ปี เล่าประสบการณ์ความล้มเหลว จากการทำเกษตรเคมีเมื่อหลายสิบปีก่อนว่า การใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของสารคาร์โบฟูราน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ฟูราดาน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีฤทธิ์กำจัดเเมลง เเละวัชพืชได้เป็นอย่างดี และเเม้ว่าจะได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ เเต่ก็ต้องแลกกับสุขภาพที่ย่ำแย่ และมีโรครุมเร้า ทำให้น้ำค้าง ตัดสินใจเลิกใช้สารเคมีทำการเกษตร เเละหันมาทำเกษตรอินทรีย์ เเบบพึ่งพาตนเองได้

จากสถิติจากงานวิจัยทางการเเพทย์ทั่วโลกพบว่า ปัจุุบันมีผู้ป่วยจากการได้รับสารเคมี 4 ชนิดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีดังกล่าวปนเปื้อน และเกษตรกรที่ได้รับสารเคมีโดยตรงเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ, ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาท หลายประเทศทั่วโลก จึงยกเลิกการจำหน่าย เเละไม่อนุญาตให้นำเข้าสารเคมีทั้ง 4 ชนิด

ผลจากงานวิจัยทางการเเพทย์ ยังเคยตรวจพบว่า สารเคมีทางการเกษตรหลายชนิด ตกค้างอยู่ในน้ำคร่ำของหญิงมีครรภ์ ขณะที่ทารกที่คลอดออกมาเเล้ว ก็พบสารเคมีทางการเกษตรอยู่ในปัสสาวะ เเละมีโอกาสที่สารเคมีเหล่านี้ จะเข้าไปสะสมในดีเอ็นเอ, ยีน เเละเอนไซม์ของเด็กเเรกเกิด ทำให้มีโอกาสเป็นเด็กออทิสติก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตอีกด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง