ติดตามความสำเร็จของหนังตีความใหม่
เปลี่ยนบทบาทพ่อมากจากคนย่านบางพระโขนง เป็นลูกครึ่ง มีพ่อเป็นอเมริกัน แถมด้วยมุขตลกสนุกสนาน นี่คือโฉมใหม่ของตำนานรักแม่นาก แต่มาในภาคพ่อมากพระโขนง หรือเปลี่ยน อังศุมาลิน หญิงแกร่งใจแข็งแห่งคู่กรรม มาเป็นเด็กสาววัยรุ่นหัวรั้น ในคู่กรรมเวอร์ชั่นล่าสุด การตีความหมายใหม่กับเรื่องราวที่ทุกคนรู้จักกันดีตามมาด้วยเสียงวิจารณ์ไม่น้อยว่าไม่เคารพกับผลงานต้นฉบับ
บรรจง ปิสัณธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง พ่อมากพระโขนง เผยว่า "แม่นากจริง ๆ มีคนทำมาหลายเวอร์ชั่นแล้วแต่เวอร์ชั่นที่คนรุ่นนี้จำมากที่สุดก็คือของพี่อุ๋ย ในฐานะคนทำงานกำกับถ้าทำมุมมองเก่าไม่รู้ทำทำไม ในเรื่องนี้มันก็อาจจะมีพื้นที่ที่ไม่ได้รับการสำรวจหรือเปล่า"
ด้าน ผศ.ธเนศ เวศร์ภาดา คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาหอการค้าไทย กล่าว "ภาพความทรงจำมีผลกับคนรุ่นหนึ่ง ยกตัวอย่าง ชั่วฟ้าดินสลาย เราดูแล้วปลื้ม แต่คนรุ่นเก่าบอกผิดไปจากบทเพราะ ความทรงจำดั้งเดิมของครั้งเดิมมันอยู่ที่ในในแต่ละรุ่น และจะยอมรับเวอร์ชั่นไหม ต่อให้เวอร์ชั่นใหม่ดีกว่าก็อาจยอมรับไม่ได้"
นอกจากนี้ ในภาพยนต์ต่างประเทศ ในเรื่อง "โรมิโอแอนด์ จูเลียต" ของบาส เลอมัง เปลี่ยนจากฉากการดวลดาบตามบทประพันธ์ของเช็คสเปียร์ มาเป็นการดวลปืน คือหนึ่งในภาพลักษณ์ใหม่ของที่เปลี่ยนบทละครรักเป็นอมตะเป็นหนังแกงสเตอร์วัยรุ่น และได้รับการตอบรับจากคนดูไม่น้อย 1 ในความสำเร็จของภาพยนตร์ที่นำบทประพันธ์อมตะมาตีความให้เข้ากับยุคสมัย
หากบางครั้งการหวังผลเพียงทางการตลาด กลับไม่เป็นผลดี เช่นการเปลี่ยนให้ สโนวไวท์ กลายเป็นเจ้าหญิงนักสู้ใน Snow White And The Hunt Man หรือ เปลี่ยนให้เด็กหลงป่าจากนิทานของพี่น้องกริมกลายเป็นนักล่าแม่มดใน Hansel and Gretel: Witch Hunters แม้จะพยายามดึงดูดผู้ชมด้วยฉากแอ็กชั่นหากที่สุดก็ประสบความล้มเหลวทางรายได้
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ม.หอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า "ส่วนหนึ่งในข้อดีก็ทำให้ วรรณกรรมเรื่องราวมันทันสมัยมากขึ้น และทำให้คนรู้จัก ส่วนสำคัญว่านำมาตีความใหม่แล้วแต่จะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ทำถึงหรือเปล่า"
ภาพลักษณ์ทันสมัยแบบซูเปอร์ฮีโร่ยุคใหม่ ของ อินทรีแดง หนึ่งในตัวละครที่ทำให้ มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาลกลายเป็นขวัญใจประชาชน หรือการนำวรรณกรรมอื้อฉาวอย่าง จันดารา กลับมาทำใหม่ โดยเพิ่มเรื่องราวให้เห็นความเป็นมาของตัวละครมากขึ้นเกินกว่านิยาย ก็เพื่อสร้างความสนใจ และเป็นอีกวิธีที่ทำให้วรรณกรรมหรือผลงานทรงคุณค่าในอดีตยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคม