ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ภาพรวมทีมกฎหมายไทยใช้ "หนามยอกเอาหนามบ่ง"กรณี"กัมพูชา"ใช้แผนที่ฉบับเดียว

สังคม
17 เม.ย. 56
13:58
136
Logo Thai PBS
ภาพรวมทีมกฎหมายไทยใช้ "หนามยอกเอาหนามบ่ง"กรณี"กัมพูชา"ใช้แผนที่ฉบับเดียว

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ วิเคราะห์การชี้แจงของตัวแทนฝ่ายกฎหมายของไทย โดยในภาพรวมมองว่า ทีมกฎหมายของฝ่ายไทยสามารถชี้แจงข้อกล่าวหาของฝ่ายกัมพูชาได้อย่างชาญฉลาด โดยเฉพาะการใช้เอกสารของฝ่ายกัมพูชามาพิจารณาท่าทีของกัมพูชา ที่ไม่มีความชัดเจน

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ วิเคราะห์การชี้แจงของตัวแทนฝ่ายกฎหมายของไทย โดยในภาพรวมมองว่า ทีมกฎหมายของฝ่ายไทยสามารถชี้แจงข้อกล่าวหาของฝ่ายกัมพูชาได้อย่างชาญฉลาด โดยเฉพาะการใช้เอกสารของฝ่ายกัมพูชามาพิจารณาท่าทีของกัมพูชา ดังนี้

อลินา มิรอง  ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ อลังเปลเล่ต์  อาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยปารีส ตัวแทนฝ่ายกฎหมายของไทย ได้กล่าวว่า  การอ้างอิงแผนที่ 25058 มิได้สู้กันกว้างมากขนาดนั้น และศาลฯก็ใช้เพียงแผนที่บางฉบับขึ้นมาอ้างอิง โดยพื้นที่ของตัวปราสาทมิได้กว้างมากขนาดนั้น

ต่อมา ศ.อแลงต์ เปเลย์ ได้กล่าวถึงหลักฐานที่สมเด็จนโรดมสีหนุ ได้เคยเสด็จไปบริเวณรั้วลวดหนาม บริเวณปราสาทพระวิหาร ภายหลังศาลพิพากษาในปี ค.ศ.1962 ( พ.ศ.2505) และในฐานะที่เป็นประมุขของกัมพูชาซึ่งไม่ได้มีท่าทีทักท้วง และย่อมแสดงว่ากัมพูชายอมรับเส้นเขตแดนของไทย

ขณะที่ ศ.เจมส์ ครอว์ฟอร์ด อาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวว่า ขอบเขตของศาลที่ได้กำหนดไว้แล้วในปี 2505 ได้กำหนดไว้แล้วว่าไม่ตัดสินเรื่องเขตแดน และการตัดสินครั้งนี้ คืออะไร และได้ยกเอกสารหลักฐานชี้ให้เห็นว่าจุดยืนกัมพูชามิได้ชัดเจน และการอ้างแผนที่ภาคผนวก 1 เพื่ออ้างแผนที่ 4.6 ตร.กม. และการยื่นแผนที่เพื่อขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยครั้งแรกขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอบริหารบริเวณโดยรอบตัวปราสาทด้วย และต่อมีการปรับแก้ไขโดยขอขึ้นทะเบียนเพียงตัวปราสาทซึ่งแคบลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจุดยืนกัมพูชาเปลี่ยนไป 

รวมถึงการบริหารจัดการดูแลทางการไทยก็เป็นผู้ที่ใช้บริหารจัดการพื้นที่โดยรอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาทั้ง 2 ประเทศเข้าใจตรงกันว่า ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา และพื้นที่โดยรอบเป็นของไทย ซึ่งไทยได้สร้างสิ่งปลูกสร้างมากมาย อาทิ บันไดเหล็กที่ใช้เดินบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารและห้องสุขาซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวโดยไทยเป็นผู้สร้างและบริหารจัดการ ซึ่งทางการทั้ง 2 ประเทศเข้าใจตรงกัน

รวมถึงการอ้างอิงเหตุการณ์ในอดีต ที่กรมพระยาดำรงราชนุภาพได้เคยเสด็จไปเยือนตัวปราสาทพระวิหารขึ้นไปนั้น เห็นการชักธงชาติฝรั่งเศสก็เป็นเพียงการอ้างอิงได้เพียงตัวปราสาทเท่านั้นมิใช่การกำหนดเส้นเขตแดน

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการอ้างอิงการใช้แผนที่ตามภาคผนวก 1 ซึ่งมีเส้นเขตแดนของแผนที่ซึ่งมีความทับซ้อนเป็นจำนวนมาก และการตีความครั้งนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากกว่าเดิม แม้ว่ากัมพูชาจะอ้างว่า การยื่นตีความครั้งนี้จะช่วยสร้างความชัดเจน แต่ไทยได้ใช้หลักทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิงแผนที่ตามภาคผนวก ตามที่กัมพูชาอ้างอิงนั้นกลับจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะแผนที่มีการทับซ้อนตลอดแนวสันปันน้ำ 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง