ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กอดฐานลงทุนอีโคคาร์-หวั่นย้ายหนีไป "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"

เศรษฐกิจ
21 มิ.ย. 56
12:44
102
Logo Thai PBS
กอดฐานลงทุนอีโคคาร์-หวั่นย้ายหนีไป "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"

อุตสาหกรรมสั่งตั้งคณะทำงานรื้อเกณฑ์ให้สิทธิประโยชน์รอบ 2 ‘ประเสริฐ’ ชูไอเดียอัพเกรดเครื่องยนต์เป็น 1,500-1,600 ซี.ซี.-ใช้อี 85 ได้

 นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้แต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากุล (อีโคคาร์) โดยมีนางอรรชกา สีบุญเรือง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ขึ้นมาพิจารณามาตราการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์อีโคคาร์ระยะที่ 2 กำหนดเป้าหมายสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ ยังยึดประเทศไทย เป็นฐานการผลิตอีโคคาร์ ภายหลังจากที่เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ไปแล้ว เนื่องจากทราบว่าหลายประเทศอยู่ระหว่างทบทวนสิทธิประโยชน์ และสนับสนุนการลงทุนอีโคคาร์เช่นเดียวกับประเทศไทย 

 
"ไทยให้การส่งเสริมสิทธิประโยชน์รถยนต์อีโคคาร์มาตั่งแต่ปี 2550 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการลงทุนให้มีความต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนก็เรียกร้องให้ทบทวนใหม่ เพราะหากเราไม่ทำอะไรก็มีแนวโน้มที่ จะย้ายฐานไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่คาดว่าจะให้สิทธิประโยชน์อีโคคาร์มาแข่งกับไทยในอนาคต ขณะที่สิทธิประโยชน์ใหม่จะสนับสนุนให้การผลิตรถยนต์เป็นไปตามเป้าหมายที่ 3 ล้านคันในปี 2560" นายประเสริฐ กล่าว 
 
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้เร่งรัดดำเนินการพิจารณามาตราการส่งเสริมขยายการลงทุนรถยนต์อีโคคาร์ใหม่ ให้ได้ข้อสรุปและมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2556 นี้ เบื้องต้นอาจจะต้องรื้อเกณฑ์คุณสมบัติ การผลิต เงื่อนไขมาพิจารณาใหม่ทั้งหมด อาทิ ขนาดของเครื่องยนต์ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ รถที่ใช้เบนซินต้องมีขนาดไม่เกิน 1,300 ซี.ซี.ด้วยดีเซลไม่เกิน 1,400 ซี.ซี.ก็อาจจะทบทวนว่าจะเพิ่มขนาดเครื่องยนต์เป็น 1,500-1,600 ซี.ซี. แต่ควบคุมเกณฑ์การใช้เชื้อเพลิง เช่น 20กิโลเมตร/ลิตร ได้หรือไม่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง จากอี 20 เป็น อี 85 เพื่อส่งเสริมการผลิตเอทานอลของไทย ซึ่งคณะกรรมการต้องไปสรุปมาอีกครั้ง 
 
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ความต้องการรถยนต์อีโคคาร์ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยจำนวนการผลิตในปี 2554 อยู่ที่ 60,000 คัน ปี 2555 อยู่ที่ 259,000 คัน และ 3 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 108,000 คัน ซึ่งคาดว่าสิ้นปีจะมีจำนวนผลิตไม่ต่ำกว่า 430,000 คัน เริ่มใกล้เคียงกับกำลังการผลิตที่อนุมัติไว้ที่ 585,000 คัน โดยการปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ กระทรวงอุตสาหกรรมจะยึดตามหลักมาตรฐานยุโรป ที่ยึด 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม ยูโร 4การใช้พลังงาน และความปลอดภัยไม่พิจารณารวมกับการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีของกระทรวงคลัง 
 
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่ามีนักลงทุนทั้งรายเก่าและรายใหม่สนใจสิทธิประโยชน์อีโคคาร์รอบ 2 ของไทย นอกเหนือจาก 5 รายที่ได้รับสิทธิส่งเสริมไปแล้ว อาทิ ฮอนด้า มิตซูบิชิ ซูซูกิ นิสสัน เหลือโตโยต้าที่ยังไม่ได้เริ่มการผลิต โยสิทธิประโยชน์ที่เคยอนุมัติไปแล้ว อาทิ การเว้นอากรเครื่องจักร เว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ลดหย่อนอากรวัตถุดิบ 90% การหักลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค การให้สิทธิภาษีสรรพสามิต 17% ส่วนสิทธิประโยชน์ใหม่จะเป็นการให้สิทธิเพิ่มเติม หรือรื้อของเก่าทั้งหมดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ 
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง