นักวิชาการเเนะ
รศ.พลังพล คงเสรี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีเเละชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยรายงานผลกระทบจากสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่ใช้สลายคราบน้ำมันจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก เมื่อปี 2553 ที่ผลการวิจัยออกมาว่าสารเคมีที่ใช้ มีฤทธิ์เป็นสารก่อมะเร็ง เเละส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล เหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นบทเรียนสำคัญที่นานาประเทศ เรียกร้องให้ผู้ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ต้องเปิดเผยรายละเอียดสารเคมีที่จะใช้เเก่สาธารณะชน เเละศึกษาผลกระทบให้รอบด้าน ก่อนพ่นลงทะเล
เเม้เหตุน้ำมันรั่วในอ่าวไทยครั้งนี้ จะไม่รุนเเรงเท่ากับอ่าวเม็กซิโกเมื่อ 3 ปีที่เเล้ว เเต่ก็อาจส่งผลต่อระบบนิเวศในระยะยาว หากผู้ที่ก่อมลพิษเเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่เปิดเผยรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่จะนำมาใช้
การศึกษาวิจัยจากเหตุน้ำมั้นรั่วที่อ่าวเม็กซิโกยังค้นพบว่า มีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลบางชนิด มีคุณสมบัติสามารถกำจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลได้ นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเห็นว่าเหตุน้ำมันรั่วในอ่าวไทย น่าจะใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในทะเลอ่าวไทย มาใช้เป็นตัวช่วยในการย่อยสลายคราบน้ำมันได้
ส่วนการสลายคราบน้ำมันโดยการใช้สารเคมี นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมองว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเเปลก เพราะเป็นวิธีปฏิบัติที่หลายประเทศทั่วโลกนำมาใช้ เเต่ก็ควรใช้ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล