ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตำนานท่าข้าวกำนันทรง ตลาดกลางค้าข้าวที่ปิดตัวลงเมื่อปี 2549

17 ส.ค. 56
14:09
4,354
Logo Thai PBS
ตำนานท่าข้าวกำนันทรง ตลาดกลางค้าข้าวที่ปิดตัวลงเมื่อปี 2549

ท่าข้าวกำนันทรง เป็นตลาดกลางค้าข้าวเปลือกแห่งแรกของไทยที่มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนกลไกตลาดและช่วยสร้างความเป็นธรรมในระบบการค้าข้าว แต่หลังจากที่มีนโยบายแทรกแซงราคาข้าว ก็ให้ตลาดกลางแห่งนี้รวมทั้งตลาดกลางอื่นๆ ต้องปิดตัวลง

วันนี้ "ท่าข้าวกำนันทรง" จังหวัดนครสวรรค์ กลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานมหกรรม ข้าวไทยไร้สารพิษ หวังกอบกู้ภาพลักษณ์ข้าวไทย ในอดีตท่าข้าวกำนันทรง พื้นที่กว่า 200 ไร่ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เคยเป็นศูนย์กลางค้าข้าวเปลือกแห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2508 ที่ อ.พยุหะคีรี ก่อนย้ายมาที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ถือว่าเป็นต้นแบบของตลาดกลางค้าข้าวที่ประสบความสำเร็จสูงสุด แต่ในวันนี้ ที่นี่กลับเงียบเหงาไม่หลงเหลือร่องรอยความรุ่งเรืองของตลาดกลางค้าข้าว ที่ต้องปิดตัวลงเมื่อปี 2549

วาสนา อัศรานุรักษ์ ทายาทของ"กำนันทรง" หรือ "ทรง องค์ชัยวัฒนะ" ผู้ก่อตั้งตลาดกลางค้าข้าวเปลือก เล่าให้ฟังว่า การปิดตัวของธุรกิจตลาดกลางค้าข้าวเปลือก มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยตั้งแต่เรื่องการคมนาคมขนส่งที่เปลี่ยนแปลงไป และนโยบายต่างๆ ของรัฐเกี่ยวข้องกับราคาข้าว โดยเฉพาะการรับจำนำข้าว ที่กำหนดราคารับซื้อสูง ทำให้ตลาดกลางค้าข้าวเปลือกที่เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสะท้อนราคาและกลไกตลาด ไม่สามารถเดินต่อไปได้

เจ้าของโรงสีแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ บอกว่า เขาคลุกคลีอยู่กับการค้าขายข้าวมากกว่า 26 ปี และคุ้ยเคยกับท่าข้าวกำนันทรงเป็นอย่างดี เพราะเขาเป็นทั้งผู้ซื้อที่ทำหน้าที่รวบรวมข้าวหรือหากวันใดที่ข้าวมีมากจนล้นมือจากการรับซื้อในท้องถิ่นก็จะนำข้าวเหล่านี้มาขาย

แต่เมื่อตลาดกลางค้าข้าวเปลือกล่มสลาย พ่อค้าข้าวที่ทำการค้าที่ท่าข้าวกำนันทรงก็ออกไปทำโรงสี เมื่อโรงสีมีจำนวนมากขึ้นทำให้การค้าขายข้าวเปลือกชาวนาไม่ต้องนำข้าวมาขายผ่านท่าข้าวอีกต่อไป สามารถขายที่โรงสีได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก็ทำให้ท่าข้าวต้องปรับตัว โดยทดลองเอารถไฟวิ่งเข้ามาวิ่ง เพื่อลดต้นทุนขนส่ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ 40 ปีของท่าข้าวกำนันทรง ตลาดกลางค้าข้าวเปลือกที่รุ่งเรือง จึงเหลือเพียงตำนาน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง