เปิดเล่มว่าที่ กวีซีไรต์ 2556: ต่างต้องการความหมายของพื้นที่
บทกวีที่ฟังรื่นหู ใช้ธรรมชาติของแมลงและเมล็ดพันธุ์พืช เปรียบกับการแย่งยื้อพื้นที่ของกันและกัน แต่ท้ายที่สุดหลีกไม่พ้นต้องพึ่งพาแบ่งปัน เนื้อหาที่เทียบเคียงกับชีวิตจริงของผู้คนที่นับวันจะแย่งชิง ทั้งพื้นที่อาศัย และพื้นที่ของอำนาจในสังคม เรื่องราวรอบตัวที่สะท้อนความอยุติธรรมที่รับรู้ตลอด 3 ปี ถูกถ่ายทอดเป็นกวีนิพนธ์ ถึง 62 เรื่อง ใน "ต่างต้องการความหมายของพื้นที่" ผลงานของกวีท้องถิ่นเลือดสุพรรณ ศิวกานท์ ปทุมสูติ
ศิวกานท์ ปทุมสูติ เจ้าของหนังสือต่างต้องการความหมายของพื้นที่ เผยว่าเก็บสะสมความหมายของพท ในจิต ในความรู้สึก ในความหมายของมันคือเป็นพื้นที่ยืนของการมีอยู่ ทุกคนแสวงหา แต่ปัญหาอยู่ที่ไม่รู้จักความหมาย และขอบเขต ไปละเมิดพื้นที่คนอื่น
อีกความหลากหลายของกวีนิพนธ์เล่มหนา คือ รูปแบบฉันทลักษณ์ ทั้งกาพย์ยานี, กาพย์ฉบัง, กลอนสุภาพ, กลอนหก และโคลงสี่สุภาพ ถ่ายทอดด้วยถ้อยคำที่สะเทือนอารมณ์นักอ่าน
เมื่อเปิดอ่านจะได้เห็นความสลับซับซ้อนของเทคนิคการเขียน และความหมายที่ลุ่มลึก ผิดกับบรรยกาาศการทำงานที่เรียบง่าย และอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ นอกจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้วไปกระทบใจ ตกผลึกออกมาเป็นงานเขียนในเล่มแล้ว ยังมีภาษาสนุกๆ อย่างกาพย์หัวเดียวให้ได้อ่านด้วย
ข้าพเจ้าได้เห็น เหล็กทุกเส้นถูกสร้าง สำเร็จด้วยมือช่าง และเชิงไฟ พลันรู้สึกนึกเห็น เหล็กบางเส้นถูกทิ้ง สนิมกร่อนนอนนิ่ง ผุสลาย ชีวิตกับชีวิต ลิขิตอัคนี อยู่เบื้องหน้าบัดนี้ นี่อย่างไร หนึ่งในกาพย์หัวเดียวภายในเล่ม ที่สะท้อนพื้นฐานด้านการใช้ภาษาไทย ที่เริ่มต้นมาจากตัวเอง ประตูความรู้บานใหญ่เปิดออกเมื่อตัดสินใจศึกษาผู้ใหญ่ และ ได้คลุกคลี คอยเชียร์รำวง ร้องเล่นเพลงพื้นบ้าน
ศิวกานท์ ปทุมสูติ เจ้าของหนังสือ ต่างต้องการความหมายของพื้นที่ กล่าวว่ากาพย์หัวเดียวจะลงท้ายด้วยเสียงใดเสียงหนึ่ง มันเป็นวัฒนธรรมกลอนเพลงภาคกลางเลย กลอน ลง อา ก็กลอน อา ก่อนหน้านี้ก็เคยเขียนมาแล้ว 2 เล่ม แต่นี่ผมคิดเป็นจริงเป็นจังเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่า
ตั้งใจเพิ่มพื้นที่การอ่าน ด้วยการการแปลกวีนิพนธ์ทุกบทเป็นภาษาอังกฤษควบคู่กันไป เพราะนักเขียนวัย 60 ปี มองว่าเนื้อหาดีๆ น่าจะเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง อีกปัญหาของการวรรณกรรมที่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องการนำเสนอ แม้เคยมีผลงานเข้าชิงรางวัลซีไรต์มาแล้วหลายครั้ง รวมถึงปีนี้กวีนิพนธ์ของเขาถึง 2 เล่ม ยังเข้าสู่รอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ แต่ศิวกานท์ ไม่เคยคิดเขียนงานเพียงเพื่อส่งเข้าประกวด เพราะมองว่าคุณค่าของตัวอักษรได้ปรากฏขึ้นแล้วหลังหนังสือเล่มนี้ถูกเปิดอ่าน