ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดตำนานเรือยาวเมืองพิจิตร "ชาละวัน-ไกรทอง"

กีฬา
8 ก.ย. 56
15:22
4,331
Logo Thai PBS
เปิดตำนานเรือยาวเมืองพิจิตร "ชาละวัน-ไกรทอง"

เมื่อกล่าวถึงจังหวัดพิจิตรหลายคนก็มักจะนึกถึงตำนานชาละวันกับไกรทอง ซึ่งในวงการเรือยาวจังหวัดพิจิตรก็มีการนำชื่อชาละวันและไกรทองไปตั้งเป็นชื่อเรือ เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในท้องถิ่น

จากตำนานเรื่องไกรทอง จากตำนานเรื่องไกรทอง กับ ชาละวัน พญาจระเข้เมืองพิจิตร ว่ากันว่าที่มาของนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ มีจุดกำเนิดจากตายายคู่หนึ่งที่ไปเก็บไข่จระเข้และนำมาเพาะเลี้ยงไว้ที่สระของตัวเอง แต่เมื่อจระเข้โตขึ้นกลับกินยายลงไปในท้องตาเสียใจมากจึงอธิษฐานขอให้เกิดมาจองล้างจองผลาญกับจระเข้ตัวนี้ก่อนจะโดดลงสระให้จระเข้กินตามยายไปสุดท้ายจึงไปเกิดเป็นไกรทองอยู่เมืองนนทบุรีตามเนื้อเรื่องพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 โดยสระตายาย ตั้งอยู่ในเขต ม.8 ต.ไผ่ขวางและมีการตั้งเป็นศาลตายายมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้อบต.ไผ่ขวางนำชื่อของจระเข้ ชาละวันตำนานอันโด่งดังที่เชื่อว่าเกิดขึ้นในพื้นที่มาตั้งเป็นชื่อเรือยาวของชุมชนตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่ก่อนนับเป็นทีมเรือที่เพียงเอ่ยชื่อก็จะทราบที่มาได้ทันทีว่าเป็นเรือยาวของชาวพิจิตร ที่น่าเกรงขาม

แม้ตอนนี้นายกอบต.ไผ่ขวางคนก่อนซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทีมเรือชาละวันสิงห์นาวาจะเสียชีวิตไปเมื่อ 2 ปีที่แล้วแต่นายกอบต.ไผ่ขวางคนปัจจุบัน ผู้เป็นพ่อรวมทั้งฝีพายชาวบ้านในตำบลไผ่ขวางทุกคนก็ยังคงช่วยกันรักษาทีมเรือชาละวันทีมนี้ให้อยู่คู่กับสายน้ำและชาวพิจิตรต่อไป

รูปแกะสลักไกรทองที่หัวเรือไม่เพียงเป็นศูนย์รวมจิตรใจของเหล่าฝีพายและเป็นที่สิงสถิตย์ของแม่ย่านางเท่านั้นหากแต่ยังเป็นเอกลักษณ์แก่ผู้พบเห็นในทันที โดยเรือไกรทองลำแรกขุดขึ้นในพ.ศ.2508 ซึ่งมีช่างเลิศ โพธิ์นามาศ ช่างขุดเรือวัย 98 ปี เป็น 1 ในผู้ร่วมขุดปัจจุบันเรือไกรทองลำลำนี้ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เรือยาววัดหัวดงมาตั้งแต่ พ.ศ.2554 และนี่เป็นครั้งแรกในรอบ2 ปีที่เรือไกรทองลำดั้งเดิมได้ลงน้ำ ที่มาของเรือไกรทองก็ไม่ต่างจากเรือชาละวันคือ ชาวบ้านและทางวัดต้องการตั้งชื่อจากตำนานอันโด่งดังของจ.พิจิตร รวมทั้งไกรทองก็ยังสามารถปราบพญาจระเข้อย่างชาละวันได้ชื่อเรือไกรทองจึงถือเป็นชื่อมงคล และเป็นที่ภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่น

ในตำนานชาละวันและไกรทองถือเป็นคู่ปรับสำคัญแต่สำหรับวงการเรือยาว ทั้ง 2 ทีมต่างไม่คิดจะเป็นคู่แข่งเพราะชาละวันและไกรทองในปัจจุบัน คือ มิตรแห่งสายน้ำ คือเพื่อนแห่งวงการที่ตั้งใจร่วมสืบสานเรือยาวประเพณีให้อยู่คู่ชาวพิจิตร และประเทศไทยสืบไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง