ผลวิจัยชี้เคี้ยว
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยโคโลญ ประเทศเยอรมนี เผยว่าทุกครั้งที่มนุษย์ได้รับข้อมูลใหม่ ๆ ริมฝีปากและลิ้นจะพยายามเอ่ยคำพูดเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ แต่ Inner Speech หรือ ภาษาคิด เหล่านี้จะถูกรบกวน หากผู้รับสารใช้ปากทำกิจกรรมอื่น โดยทีมวิจัยทำการทดลองด้วยการแบ่งผู้ชมภาพยนตร์ออกเป็น 2 กลุ่ม ครึ่งหนึ่งได้รับป๊อปคอร์นก่อนชมภาพยนตร์โฆษณา ส่วนที่เหลือได้รับลูกอม ซึ่งผลสำรวจความพึงพอใจสินค้าในโฆษณา พบว่ากลุ่มผู้ได้รับลูกอมสนใจที่จะซื้อสินค้าในโฆษณา 65 % ส่วนกลุ่มที่ได้รับป๊อปคอร์นพอใจในสินค้าเพียง 40 %
แต่เดิมมีความเชื่อกันว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น และมีส่วนช่วยด้านสมาธิและความทรงจำ แต่ปีที่แล้ว (55) มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟในเวลส์ เผยผลวิจัยว่า ความสามารถในการจัดลำดับความคิดของคนจะลดลงจากการเคี้ยวหมากฝรั่ง ซึ่งทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยโคโลญชี้ว่า การให้ผู้ชมบริโภคป๊อปคอร์นในโรงหนังส่งผลเสียต่อแผนการตลาดของสปอนเซอร์ และควรการยกเลิกการขายขนมขบเคี้ยวในโรงภาพยนตร์ในอนาคต
ด้วยกลิ่นหอมและรสชาติที่ถูกปาก ในราคาที่คนทั่วไปเอื้อมถึง การเร่ขายข้าวโพดคั่วจึงเป็นธุรกิจยอดนิยมตามงานมหรสพในสหรัฐเมื่อศตวรรษที่ 19 แต่เจ้าของโรงภาพยนตร์ยุคแรกไม่ต้องการให้มีการขายป๊อปคอร์นในโรง เพราะกลัวเศษอาหารจะเปื้อนเก้าอี้และพรม กระทั่งถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ยุค 30 มีโรงภาพยนตร์ต้องปิดตัวมากมาย แต่โรงหนังที่พึงพารายได้จากกาารขายป๊อปคอร์นสามารถผ่านวิกฤตมาได้ จนการขายข้าวโพดคั่วและขนมขบเคี้ยวกลายเป็นธุรกิจที่ขาดไม่ได้สำหรับโรงภาพยนตร์ในปัจจุบัน คิดเป็น 85 % ของกำไรทั้งหมดของโรงหนัง