ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อธิการบดี จุฬาฯ นำคณะสร้างความเข้าใจคำตัดสิน "พระวิหาร" ป้องปชช.เข้าใจผิด

สังคม
13 พ.ย. 56
01:23
65
Logo Thai PBS
อธิการบดี จุฬาฯ นำคณะสร้างความเข้าใจคำตัดสิน "พระวิหาร" ป้องปชช.เข้าใจผิด

ประเด็นเรื่องผลตัดสินคดีพระวิหารของศาลโลกก็ยังถูกนำไปขยายผลทางการเมือง เมื่อวานนี้ (12 พ.ย.) กลุ่ม 40 สว.ได้ชี้ว่า ไทยเสียดินแดนครั้งที่ 15 และมองว่าการที่ศาลไม่ยอมตัดสินภูมะเขือ และให้ทั้งสองฝ่ายบริหารมรดกโลกร่วมกันจะนำไปสู่ปัญหา ขณะอธิการบดีจุฬาฯ นำคณะทำงานศึกษาคำตัดสินของศาลโลกชี้แจงประชาชน เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำติดสินคดีพระวิหาร หวั่นเป็นชนวนเหตุปลุกกระแสทางการเมือง โดยแนะนำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ออกมาชี้แจงต่อประชาชนเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด

ศาสตราจารย์นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะทำงานที่ศึกษาคำตัดสินของศาลโลกร่วมกันอธิบายถึงคำตัดสินของศาลต่อการตีความคดีปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา โดยระบุว่า คดีนี้ศาลโลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินเมื่อปี 2505 แต่หัวใจสำคัญของการตัดสิน คือ การตีความคำว่า Vicinity (วิซินี่ตี้) หรือ บริเวณข้างเคียงปราสาทพระวิหาร โดยศาลไม่รับฟังข้ออ้างของกัมพูชาที่ว่าบริเวณนั้นกินพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับว่า ฟังพื้นที่นั้นเป็นของไทยตามคณะรัฐมนตรีไทยในอดีต

    

ขณะที่ศาสตราจารย์ไชยวัฒน์ ค้ำชู หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐบาลไทยควรใช้กระบวนการเจรจาระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันกำหนดเส้นเขตแดนและใช้พื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารร่วมกัน โดยขอร้องไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ไม่ควรหยิบประเด็นเรื่องการเสียดินแดนมาเป็นประเด็นเคลื่อนไหวทางการเมือง เนื่องจากปราสาทพระวิหารไม่ได้เป็นของไทยมาตั้งแต่ปี 2505 แล้วไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง