51 ปี อิทธิพลดนตรีอังกฤษ
เสียงกรีดร้องของแฟนเพลงที่ดังไปทั่วทั้งสนามบินนานาชาติจอห์นเอฟเคเนดี ทันทีที่ 4 หนุ่ม เดอะบีทเทิลเดินลงจากเครื่องบินในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1964 คือหนึ่งในสิ่งที่ยืนยันถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในวงการเพลงโลก เมื่อกระแสความนิยมผลงานร็อคจากอังกฤษระบาดไปทั้งอเมริกา และเปิดให้วงดนตรีจากสหราชอาณาจักรที่เคยรับอิทธิพลจากเพลงบลูส์และร็อคแอนด์โรลจากอเมริกา อย่างเดอะโรลลิ่ง สโตน และเดอะ ฮูว์ ตามเข้าไปสร้างความสำเร็จ และยังถือเป็นจุดสิ้นสุดของแนวเพลงอเมริกัน ทั้งโมทาวน์ เซิร์ฟมิวสิคและเพลงโฟล์ค แม้กระแสความคลั่งไคล้วงจากอังกฤษหรือบริทิช อินเวชั่นจะคลายตัวลงในปี 1967 หากสิ่งที่เกิดขึ้นก็ได้เปลี่ยนแปลงวงการเพลงไปตลอดกาล
ความสำเร็จของวงร็อคจากอังกฤษทำให้ ยุคหนึ่งศิลปินโลกเด็มไปด้วยวงร็อคผิวขาวที่มีกีตาร์เป็นพระเอก และทำให้วงการเพลงในสหรัฐรวมถึงทั่วโลกผลิตวงดนตรีแบบเดียวกันขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ทั้งยังวางรากฐานให้กับดนตรีร็อคในยุคต่อมา แม้ศิลปินจากกระแสบริทิช อินเวชั่น ที่ตามหลังความสำเร็จของเดอะ บีทเทิล ในอเมริกาอาจไม่ได้มีชื่อเสียงยืนนานเท่ากลุ่มแรกที่บุกเข้าไปปักธงยังฝั่งอเมริกาได้สำเร็จ แต่นับจากวาระ 50 ปี Brtish invasion ในปี 2014 หลายวงก็กลับมารวมตัวกันอีกครั้งทั้งเดอะ มามาร์เลด เดอะ ครู้ก และดิ แอนนิมอล ออกทัวร์คอนเสิร์ตไปทั่วโลกรวมถึงในไทย
ความสำเร็จของนักร้องเพลงโซลจากอังกฤษอย่างอเดล หรือแซม สมิธ ที่ข้ามฝั่งไปกวาดรางวัลใหญ่บนเวทีแกรมมีอวอร์ดในปี 2012 และ 2014 คืออีกครั้งที่ศิลปินจากอังกฤษเข้าไปปักธงยังฝั่งอเมริกาได้สำเร็จตามหลังยุคบริทิช อินเวชั่นครั้ง และนิวเวฟคลื่นลูกที่ 2 จากอังกฤษในยุค '80s ทำให้คนในวงการดนตรีหลายคนมองว่านี่อาจเป็นกระแสบริทิช อินเวชั่น ครั้งใหม่ที่ยืนยันถึงอิทธิพลความคิดสร้างสรรของศิลปินอังกฤษที่มีต่อโลกดนตรี