ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อนาคต "โซเชียลมีเดีย" กับผลกระทบต่อสื่อสิ่งพิมพ์

สังคม
7 ก.ค. 54
11:13
24
Logo Thai PBS
อนาคต "โซเชียลมีเดีย" กับผลกระทบต่อสื่อสิ่งพิมพ์

อดีตผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ชี้อนาคต “โซเชียลมีเดีย” จะเข้ามาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ และ สื่อออนไลน์ แต่ปัญหาคือการควบคุมการใช้ที่มีคุณภาพของประชาชน ขณะเดียวกันโซเชียลมีเดียยังถูกนำมาใช้ในการเมืองของแต่ละประเทศ ที่รัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมได้

วันนี้ (7ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การใช้สื่อใหม่ในการรายงานข่าวทั้งภายใน และ ภายนอกประเทศ” โดย Mr.Ralph J.Begleiter อดีตผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น กล่าวถึงการใช้สื่อใหม่โดยยกตัวอย่างการรายงานข่าวผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ที่ประเทศลิเบีย ที่รัฐบาลของ พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี พยามปิดกั้นประชาชน และ ที่ประเทศอียิปต์ ที่ประชาชนได้ส่งข่าว และ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองออกไปทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลอียิปไม่สามารถปัดกั้นการนำเสนอข่าวได้ นอกจากนี้นักรณรงค์ทางการเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลางต่างใช้โซเชียลมีเดียในการส่งข้อมูลข่าวสาร และ รายงานความเคลื่อนไหว

อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าวฟอกนิวส์ได้ถูกแฮกข้อมูลทวิตเตอร์ปล่อยข่าวนายบารัค โอบามา ประธานาธิดีสหรัฐฯ เสียชีวิต แต่โชคดีที่มีประชาชนติดตามไม่กี่พันคนจึงไม่มีผลกระทบตามมา เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ที่ กกต.ได้ห้ามไม่ให้หาเสียงก่อนผ่านโซเชียลมีเดียก่อนวันเลือกตั้งซึ่งเป็นไปได้ยาก

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศที่มีการใช้โชเชียลเน็ตเวิร์กจะเป็นการใช้เพื่อการเมือง เช่น ในอเมริกามีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากสุด แต่การเชื่อมโยงเครือข่ายยังมีน้อยกว่าเอเชีย โดยประเทศเกาหลีใต้เป็นพื้นที่ที่มีการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กมากที่สุด โดย Mr.Ralph ยังมองว่า การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก กำลังทำให้ก้าวเข้าสู่การเมืองยุคใหม่

อดีตผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ยังกล่าวต่อไปว่า โซเชียลมีเดียมีบทบาทอย่างไรต่อการเมือง เช่นที่ สหรัฐอเมริกา นิตยสารนิวยอร์กเกอร์ เสนอข้อมูลของนายบารัค โอบามา ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกเอียงซ้าย ในช่วงหาเสียงเลือกประธานาธิบดี แต่ประชาชนส่วนใหญ่จะหาซื้อได้ยาก แต่เป็นประเด็นเมื่อมีการนำมาเผยแพร่โดยการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก

อย่างไรก็ตามการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น การโพสต์ข้อความในอินเตอร์เน็ต โดยไม่คำนึงถึงจริยธรรม เพราะในอินเตอร์เน็ตไม่มีกฎเกณฑ์ ซึ่งในอนาคตคาดว่า จะมีการกำหนดจรรยาบรรณของผู้ใช้ตามมา ส่วนอนาคตโซเชียลมีเดียเชื่อว่า จะมีการพัฒนาการจนคาดไม่ถึง เช่น จอทีวีในบ้านอาจทำให้คุยกับหลาย ๆ คนได้ หรือ อาจมีการชวนเชื่อทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากสื่อมวลชนจะใช้การรายงานอย่างมีคุณภาพ และ ต้องมีความยุติธรรม เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

"เชื่อว่าสถานการณ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้รับผลกระทบจากโซเชียลเน็ตเวิร์กทำให้อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ลดน้อยลง หรือแม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ออนไลน์ อย่างล่าสุดในสหรัฐฯ บางสำนักข่าวไม่มีนักข่าวประจำต่างประเทศแล้ว เพราะการรับข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กจะมาเข้ามาแทนที่ โดยที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย" อดีตผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น  กล่าวยืนยัน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง