วันนี้ (23 มี.ค. 2559) รศ.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถานบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ ISIS จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นวานนี้ในกรุงบลัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม มีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2558 ถือเป็นภัยคุกคามระยะยาวที่ยุโรปต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ก่อเหตุที่มีทั้งกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง และกลุ่มคนในสหภาพยุโรปที่ไปร่วมรบกับกลุ่มหัวรุนแรง โดยบทเรียนของเหตุการณ์ครั้งนี้ ยุโรปต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหา ว่าทำอย่างไรไม่ให้กลุ่มที่ไปร่วมรบกลับมาก่อเหตุรุนแรงที่บ้านของตัวเอง
“กลุ่มคนที่ไปร่วมรบไม่ได้มีเฉพาะคนยุโรป แต่จากข้อมูลพบว่ามีทั้งชาวฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมถึงไทย ซึ่งแม้จะไม่ยืนยันจำนวนที่ชัดเจน แต่ภูมิภาคอาเซียนก็ควรต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้” ผอ.สถานบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ ISIS จุฬาฯ ระบุ
ด้านนายศราวุฒิ อารีย์ นักวิชาการจากศูนย์เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุร้ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งที่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเบลเยียม สะท้อนให้เห็นว่ายุโรปตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้าย
“ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขคือนโยบายของยุโรป ในการจัดการกับกลุ่มผู้อพยพชาวมุสลิม ซึ่งหากสามารถบูรณาการสังคมมูสลิมให้อยู่ร่วมกันกับประชาชนในประเทศได้ จะช่วยผ่อนคลายและคลี่คลายปัญหา” นายศราวุฒิ กล่าว
นักวิชาการด้านความมั่นคงของไทย ชี้ยุโรปตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงถูกคุกคามจากกลุ่มก่อการร้าย http://news.thaipbs.or.th/content/251171 #ThaiPBSnews #ก่อการร้ายเบลเยียม #ไอเอส #ยุโรป -----------------------------------------------------นักวิชาการด้านความมั่นคงระบุ ยุโรปตกอยู่ในภาวะเสี่ยงถูกคุกคามจากกลุ่มก่อการร้าย แนะทางแก้ไขควรบูรณาการให้สังคมผู้อพยพมุสลิมอยู่ร่วมกับประชาชนในประเทศเพื่อคลี่คลายปัญหา กระตุกอาเซียนสนใจเรื่องก่อการร้าย หลังพบคนร่วมรบกับกลุ่มไอเอสมาจากประชากรในภูมิภาค
โพสต์โดย Thai PBS News บน 22 มีนาคม 2016