ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สปท. วางกรอบ "คำถามพ่วงประชามติร่าง รธน." ตั้ง คกก.ปรองดอง แก้ปมขัดแย้งประเทศ

การเมือง
1 เม.ย. 59
10:08
118
Logo Thai PBS
สปท. วางกรอบ "คำถามพ่วงประชามติร่าง รธน." ตั้ง คกก.ปรองดอง แก้ปมขัดแย้งประเทศ
วันนี้(1เม.ย.) สปท.นัดพิจารณาคำถามพ่วงประชามติร่าง รธน. ชง ส.ส.-ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ช่วงเปลี่ยนผ่าน หนุนตั้งคณะกรรมการปรองดอง

เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ และนำร่างฯนั้นเข้าสู่กระบวนการทำประชามติ โดย กกต. รัฐธรรมนูญชั่วคราว ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 เปิดทางให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอคำถามประกอบการออกเสียงประชามติ หรือ "คำถามพ่วง" ไปในคราวเดียวกันได้ด้วย ในคราวเดียวกัน " ขณะที่ สนช.ต้องรับฟังความเห็นของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. เพื่อตั้งคำถามด้วยและตามกำหนดเวลานั้น สนช.จะสรุปคำถามและส่งให้กกต. ในวันที่ 7 เมษายน 2559 โดยบ่ายวันนี้ (1 มี.ค.) สปท.จะประชุมสรุปข้อเสนอแนะให้ สนช.

สำหรับการประชุมคณะกรรมการประสานงานของ สปท.ได้วางกรอบการตั้งคำถามประชามติไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม 2.ควรเป็นประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับการบริหารหรือมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ 3.ควรเป็นคำถามที่สามารถนำความเห็นส่วนใหญ่ของประชาชนเข้ามาแก้ปัญหาของประเทศ เพื่อให้เดินไปข้างหน้าได้ด้วยความสงบเรียบร้อย 4.ควรเป็นคำถามที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการกำหนดทิศทาง หรือการบริหารประเทศได้ และ 5.ควรเป็นคำถามที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้เพื่อเป็นทางออกของการแก้ปัญหาของประเทศ

 

ทั้งนี้ มี 2 คำถามจากสมาชิก สปท.ที่เปิดเผยออกมาแล้ว คือ "การให้สมาชิกรัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน" โดยเป็นคำถามที่นายวันชัย สอนศิริ เสนอ ขณะที่ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เสนอ"การจัดตั้งคณะกรรมการปรองดอง" และหลังสปท.ได้ข้อสรุปแนวคำถามในวันนี้แล้ว จะส่งให้ สนช. ใช้ประกอบการพิจารณาตั้งคำถามพ่วงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใน วันที่ 7 เมษายน ก่อนส่งให้ กกต.พิจารณาดำเนินการตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด

 

 

 

ท่ามกลางข้อสังเกตว่าคำถามพ่วงของ สนช. ซึ่งเป็น 1 ในแม่น้ำ 4 สายของ คสช. จะเป็นเป็นคำถามเพื่อรองรับผลประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะกรอบเวลาตามโรดแมป คสช. เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2560 ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญของคสช. และไม่อาจเป็นไปได้ที่ คสช.จะเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 3 เพราะจะเป็นแรงกดดันด้านลบให้เพิ่มขึ้นอีก และน่าจะเป็นไปได้ว่าคำถามพ่วงนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของปมการตัดสินใจ การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไปด้วย โดยการตัดสินใจปิดทางเหตุการณ์ต่ออายุ คสช.หรือการขยายโรดแมปออกไปอีก และแม้แต่การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จาก คสช.โดยตรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง