การพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ เป็น หนึ่งในนโยบายประชารัฐ ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศว่า จะใช้พัฒนาเศรษฐกิจประเทศ โดยปฏิรูปภาคเกษตรแบบใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การรวมกลุ่มผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกร
แต่การส่งเสริมทำเกษตรแปลงใหญ่ มีข้อกังวลว่า นี่อาจจะเป็น เกษตรพันธสัญญารูปแบบหนึ่ง หรือไม่ เพราะ เกษตรกรที่ร่วมโครงการ จะมีข้อผูกพันจากการทำสัญญา สรุปแล้ว โครงการนี้เกษตรกรจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ หรือจะเหมือนกับเกษตรพันธสัญญาที่ผ่านมา
สิ่งที่ต่างจากเกษตรพันธสัญญาคือ หากเกษตรกร หรือชาวนารู้สึกว่าราคาที่ได้ไม่เป็นธรรม ก็สามารถนำผลผลิตไปขายที่อื่นนอกเหนือจากคู่สัญญาได้ และผู้ออกนโยบายเน้นที่การทำเกษตรแปลงใหญ่ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตค่ะ แต่เกษตรกรจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนอาจจะต้องรอดูกันอีกครั้งในฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต
แต่ที่แน่ๆ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ ตามนโยบายประชารัฐ จะมีตลาดรองรับผลผลิต
ปัจจุบันโครงการนี้ มีทั้งสิ้น 35 โครงการ 28 จังหวัด
แบ่งประเภทสินค้าออกเป็น
-ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
-โคเนื้อ โคนม กุ้ง ปลานิล
-ผักผลไม้ เห็ด สมุนไพร ทุเรียน และหม่อน
แต่ที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรที่ทำอาชีพเหล่านี้ มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ จึงนำมาสู่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน จัดทำโครงการนำร่องสำคัญ 10 โครงการ หนึ่งในนั้น คือ โครงการสานพลังทำนาประชารัฐ ที่ต.ทุ่งรวงทอง อ.จุน จ.พะเยา ที่นั่นเกษตรกร กำลังได้รับการส่งเสริมให้ปลูกข้าวตามแนวคิดประชารัฐ