ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ข่าวดี "ช้างป่าไทย" ประชากรเพิ่มร้อยละ 7

สิ่งแวดล้อม
10 มี.ค. 60
19:32
11,227
Logo Thai PBS
ข่าวดี "ช้างป่าไทย" ประชากรเพิ่มร้อยละ 7
13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย ผลสำรวจมีข่าวดีว่าประชากรช้างไทย มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7-10 ไม่เสียงต่อการสูญพันธ์จากธรรมชาติโดยเฉพาะกลุ่มป่าตะวันออก เตรียมนับประชากรช้างครั้งใหม่ เพื่อทำรายงานยืนยันช้างไทยไม่สูญพันธ์

วันนี้ (13 มี.ค.2560) นายสุนทร ฉายาวัฒนะ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช บอกว่า จากตัวเลขการประเมินประชากรช้างป่า ที่เคยสำรวจไว้เมื่อหลายปีก่อนภาพรวม ยังคงมีตัวเลขราว 3,500-4,000 ตัว กระจายในป่าอนุรักษ์ 68 แห่ง ที่พบช้างป่าอาศัยใน 7 กลุ่มป่า

ได้แก่ กลุ่มป่าตะวันตก เช่น แก่งกระจาน สลักพระ ห้วยขาแข้ง จำนวน 400-600 ตัว กลุ่มป่ารอยต่อตะวันออก 5 จังหวัด จำนวน 300-400 ตัว กลุ่มป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

และกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เช่น ภูเขียว น้ำหนาว เขาใหญ่ ตาพระยา 500-600 ตัว จำนวนกลุ่มป่าภาคใต้คลองแสง-เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 100-150 ตัว และกลุ่มป่าภาคเหนือ จำนวน 110-300 ตัว และมีข่าวดีว่าประชากรช้างป่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 โดยเฉพาะกลุ่มป่าตะวันออก

นายสุนทรกล่าวต่อว่า ขณะนี้ประชากรช้างป่าของไทย ไม่อยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุแล้ว เพราะมีการดูแลและบริหารจัดการ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นขึ้น ถ้าเทียบกับในอดีตที่เคยมีปัญหาการล่าช้างเอางา และเอาลักลอบนำลูกช้างออกจากป่า เพื่อนำมาสวมตั่วช้างให้กับปางช้างต่างๆ

ส่วนหนึ่งเพราะคนไทยให้ความสนใจกับการดูแลทรัพยากร ตระหนักถึงความสำคัญต่อสัตว์ป่าหลายชนิด จนมีดัชนีการเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาที่กำลังเผชิญคือการจัดการประชากรช้างป่า

และพื้นที่แหล่งอาศัยของช้างป่า โดยเฉพาะป่าตะวันออก ที่พบปัญหาช้างออกนอกพื้นที่รุนแรงขึ้น เช่น บริเวณแก่งหางแมว จ.จันทบุรี ที่พบช้างออกมาคราวละ 80-100 ตัว ทำอย่างไรจึงจะทำให้ช้างอยู่ในป่า มีแหล่งอาหารเพียงพอ เพื่อดึงให้ช้างกลับไปอยู่ในป่า โดยไม่สร้างความขัดแย้งกับชาวบ้าน

นายสุนทรบอกว่า ขณะนี้กรมอุทยานฯ เริ่มทำแผนจัดการช้างป่า 20 ปีระหว่างปี 2559-2579 โดยจะครอบคลุมถึงการสำรวจประชากรช้างรอบใหม่ในป่าทั่วประเทศไทย เพื่อให้เห็นถึงตัวเลขประชากรช้างที่เป็นปัจจุบัน โครงสร้างกลุ่มอายุประชากรช้าง และการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมติดกับตัวช้าง เพื่อศึกษาพฤติกรรม การใช้พื้นที่เส้นทางของช้างใหม่อีกครั้ง

และใช้ข้อมูลนี้วางแผนจัดการช้างป่าในอีก 5 เช่น พบว่า กลุ่มป่าตะวันออก ตะวันตกมีช้างวัยรุ่น วัยเจริญพันธ์ุสูง ก็ต้องดูว่าพื้นที่ แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร เพื่อรองรับช้างไม่ให้ไม่เกินศักยภาพของพื้นที่ แต่ต้องทำให้ช้างอยู่ในป่า เพราะข้างนอกมีอาหารสมบูรณ์ แหล่งน้ำแหล่งอาหาร และป่า

รวมทั้งการจัดพื้นที่พื้นที่เร่งด่วนที่มีความขัดแย้งคนกับช้าง การประเมินถิ่นอาศัยของช้าง และการรองรับช้างป่าไปยังพื้นที่แห่งใหม่ แต่ยืนยันว่ามาตการเคลื่อนย้างช้าง จะเป็นทางเลือกสุดท้าย

"ป่าตะวันออก"คาดมีช้างป่าพุ่ง 700 ตัวเตรียมนับปชก.ใหม่

ด้าน ดร.ศุรกิจ วินิตพรสวรรค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช บอกว่า จากข้อมูลปี 2558 ที่เคยสำรวจประชากรช้างป่าตะวันออก มีการจำแนกเพศและโครงสร้างชั้นอายุ รวมถึงสำรวจพื้นที่ป่าแหล่งอาศัยของช้างป่า พบว่า มีช้างจำนวน 364 ตัว กระจายอยู่ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด คือระยอง สระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี

แต่จะพบมากที่สุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จะสระแก้ว เพราะมีพื้นที่ราบมากกว่าภูเขา โดยความหนาแน่นของประชากรช้างยังอยู่ที่ 0.20 ตัวต่อตารางกิโลเมตร ถือว่าเป็นความหนาแน่นที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ

ส่วนการสำรวจประชากรช้างป่าล่าสุดเมื่อต้นปี 2560 พบว่ามีช้างป่าทุกชั้นของโครงสร้างประชากร กว่า 400 ตัว หากเปรียงเทียบโครงสร้างประชากรช้างป่าที่เคยสำรวจเมื่อปี 2545 จำนวน 115 ตัว ผ่านมา 15 ปี พบว่าประชากรช้างป่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นตามปกติ ซึ่งจะมีลักษณะแบบขั้นบันได คือโตเต็มวัย ใกล้เต็มวัย วัยรุ่น และลูก ยังไม่พบนัยยะที่ผิดปกติ

“อัตราการเพิ่มขึ้นของช้างป่าร้อยละ 7 ทำให้เราสามารถคาดการณ์ประชากรช้างป่าในอีก 10 ข้างหน้าได้ว่าน่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 670 – 680 ตัว ซึ่งการสำรวจประชากรช้างป่า จะทำให้เจ้าหน้าที่มีข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น และนำข้อมูลมาวางแผนการจัดการช้างป่าได้ โดยเฉพาะวางแผนการจัดการแหล่งน้ำและแหล่งอาหารที่ต้องเพียงพอสำหรับช้างกว่า 600 ตัวที่จะเพิ่มในอนาคต” ดร.ศุภกิจ กล่าว

เชื่อป่ายังรองรับประชากรช้างได้แต่ต้องมีแหล่งอาหาร

ดร.ศุภกิจ บอกว่า หากเปรียบเทียบประชากรช้างป่ากับขนาดของพื้นที่ป่าตะวันออก ถือว่า พื้นที่ป่าตะวันออกที่มีประมาณ 1.3 ล้านไร่ ช้างป่า 400 ตัวยังสามารถรอบรับช้างป่าได้มากกว่านี้ หากศักยภาพของพื้นที่มีประสิทธิภาพ ทั้งแหล่งน้ำและแหล่งอาหาร

แต่จากการสำรวจ กลับพบว่าการพัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร หรือการฟื้นฟูศักยภาพของที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ที่ผ่านมา ยังไม่ตรงจุดเท่าที่ควรจะเป็น โดยพบว่าพื้นที่ร้อยละ 40 ที่ช้างป่าไม่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์เลย โดยเฉพาะหน้าแล้ง เพราะไม่มีแหล่งน้ำแหล่งอาหาร

ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ จำเป็นต้องใช้น้ำทุกวัน โดยเฉพาะช้างโขลงหที่อยู่เป็นกลุ่ม ดังนั้นแนวทางการฟื้นฟูที่ผ่านมาถือว่ายังไม่ตรงจุด ดังนั้น ในการพัฒนาแหล่งน้ำและแหล่งอาหารในอนาคต พื้นที่ร้อยละ 40 ที่ช้างไม่ใช้ประโยชน์ ต้องเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา เพื่อให้ผืนป่ามีศักยภาพเต็มร้อยละ 100 สามารถให้ช้างป่าอาศัยได่อย่างสบาย ลกปัญหาช้างป่าออกนอกเขตอนุรักษ์ลงได้

นักวิชาการ ระบุแก้ปมขัดแย้งช้าง-คน

ด้าน ดร.มัทนา ศรีกระจ่าง นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ปัญหาช้างป่าออกมานอกพื้นที่อยุรักษ์ บางครั้งไม่ได้อยู่ที่แหล่งอาหารของช้างไม่เพียงพอ แต่ก็อยู่ที่พฤติกรรมของช้างป่าด้วย เพราะช้างป่าเป็นสัตว์ที่เดินไกล มีความจำเป็นเลิศ ช้างจะรู้ว่าตรงไหนมีอาหารตรงไหนมีแหล่งน้ำ มาครั้งเดียวช้างก็จำได้แล้ว และช้างเป็นสัตว์ที่ฉลาด เมื่อมันเรียนรู้ว่าคนไม่ได้ทำร้าย ช้างก็จึงเสี่ยงออกมาอยู่ข้างนอก เพื่ออาหารที่สมบูรณ์กว่า

ดร.มัทนา บอกว่า ที่ผ่านมามาตรการของรัฐ มักจะคิดแก้ปัญหาแต่ฝั่งของคนก่อน เราไม่ได้คิดถึงฝั่งช้างเลย พอคิดถึงแต่คน มาตรการที่ตามก็คือ การสร้างสิ่งกีดขวางทุกอย่าง โดยเฉพาะขุดคูกันช้าง ที่หลายฝ่ายต่างก็มาช่วยกันขุดคูกันช้าง

ทั้งกรมอุทยานแห่งชาติฯ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างของบประมาณมาสร้างสิ่งกีดขวางช้าง แต่สุดท้ายไม่สำเร็จ เพราะคูกันช้างไม่สามารถสร้างเสร็จในคราวเดียวกัน สุดท้ายพื้นที่ที่ช้างป่าออกได้ ช้างป่าก็คงออกเช่นเดิม

“ช้างเป็นสัตว์ที่ฉลาด ช้างสามารถพังสิ่งกีดขวางได้เสมอ หรือแม้แต่จพเปลี่ยนการปลูกพืช ต่อให้พื้นที่หนึ่งเลิกปลูกพืชที่ช้างกิน ช้างก็เดินไปกินในพื้นที่อื่นอยู่ดี เพราะช้างเป็นสัตว์เดินได้ไกล จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาที่ผ่านมาเราลืมคิดถึงช้าง ว่าช้างมีพฤติกรรมอย่างไร เราคิดแต่ฝั่งของคนว่าแก้ปัญหาอย่างไรง่ายที่สุด สุดท้ายก็แก้ไม่ได้ และไม่เคยมีการทบทวนมาตรการที่ผ่านมาว่าใช้ได้ผลหรือไม่” ดร.มัทนากล่าว

ดร.มัทนา กล่าวว่า มีหลายโมเดลที่แก้ปัญหาคนกับช้างได้ และแก้ปัญหาช้างออกนอกเขตอนุรักษ์ โดยไม่ต้องสร้างสิ่งกีดขวาง หรือ ทำรั้วป้องกันช้าง เพียงทำให้แหล่งอาศัยของช้างให้สมบูรณ์ ช้างก็ไม่ออกมาแล้ว เพราะเมื่อแหล่งอาศัยของช้างป่าสมบูรณ์ ช้างป่าก็จะเรียนรู้เองว่าในป่ามีอาหาร มีน้ำเพียงพอแล้ว ก็จะลดปัญหาช้างออกมานอกเขตอนุรักษ์ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง