วันนี้ (13 มี.ค.2560 ) เจ้าหน้าที่ออสเตรเลียประจำสถานีวิจัยเดวีสสเตชั่น ในทวีปแอนตาร์กติกา ใช้แมวน้ำช้างสำรวจและเก็บข้อมูลทางทะเลในมหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยติดอุปกรณ์เซ็นเซอร์ไว้ที่หัวของแมวน้ำช้าง เมื่อแมวน้ำช้างออกสู่ทะเลเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางทะเลและส่งข้อมูลเหล่านั้น ผ่านดาวเทียมตามเวลาจริงไปยังศูนย์วิจัยในรัฐแทสมาเนียของออสเตรเลีย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจะสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้อย่างเสรี
ปัจจุบันมีแมวน้ำช้างที่นักวิทยาศาสตร์ติดตั้งเซ็นเซอร์เอาไว้จำนวน 6 ตัว โดยแมวน้ำเหล่านี้จะเดินทางไปทั่วมหาสมุทรแอนตาร์กติกเพื่อหาอาหารและอาจลงไปใต้ทะเลลึกถึง 2 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ก่อนที่เซ็นเซอร์ดังกล่าวจะหลุดออกมาเมื่อแมวน้ำช้างตัวนั้นลอกคราบ ซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ 1 ปี