ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มอ.ปฎิเสธนำยางด้อยคุณภาพสร้างสนามฟุตซอล

ภูมิภาค
19 มิ.ย. 60
19:28
1,004
Logo Thai PBS
มอ.ปฎิเสธนำยางด้อยคุณภาพสร้างสนามฟุตซอล
กรณี พื้นสนามฟุตซอลในโครงการ 1 ตำบล 1 สนาม ซึ่งใช้งบประมาณแล้วกว่า 229 ล้านบาท ของ ศอ.บต.ที่ชำรุด ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มอ.ชี้แจงว่า ยางที่นำมาใช้ในโครงการมากกว่าครึ่ง มีการนำยางนอกพื้นที่มาใช้

สนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ใช้พื้นยางพารา ที่ก่อสร้างเมื่อปี 2558 ยังคงเป็นสนามกีฬากลางแจ้ง ที่นักเรียนโรงเรียนวัดเขากลอย ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ใช้ทำกิจกรรม หลังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) นำนวัตกรรมยางปูพื้นมาทดลองใช้ก่อสร้างสนาม แต่ยางพาราปูพื้นชนิดนี้ แตกต่างจากยางปูพื้นที่นำมาใช้ในการก่อสร้างโครงการสนามฟุตซอล 1 ตำบล 1 สนาม ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดหลายแห่ง หลังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่องค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างตั้งแต่ปี 2558

ศ.อาซีซัน แกสมาน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวทิยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ข้อมูลกับไทยพีบีเอสว่า ช่วงแรกของการก่อสร้างสนามฟุตซอลโครงการ 1 ตำบล 1 สนาม แม้สถาบันวิจัยจะได้ข้อตกลงร่วมกับ ศอ.บต เพื่อนำยางในประเทศมาผลิตเป็นแผ่นยางปูพื้น แต่เนื่องจากขีดความสามารถของกลุ่มสหกรณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากสถาบันวิจัยยาง และเทคโนโลยีที่ไม่ดีมากนัก รวมถึงการเร่งรัดให้ทันกับการใช้งบประมาณของรัฐ ทำให้ยางบางส่วนที่นำมาใช้ไม่ได้ผลิตจากกลุ่มสหกรณ์ หรือเครือข่ายที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านนวตกรรมยางจากสถาบันวิจัยยาง และมีสนามฟุตซอลที่ใช้ยางผ่านการผลิตของสถาบันวิจัยยางไม่ถึง 10 แห่ง จากจำนวนสนามฟุตซอลที่กำหนดก่อสร้างในปีแรกจำนวน 50 สนาม

จากการสังเกตสภาพความเสื่อมสภาพของยางที่นำมาปูพื้นสนามฟุตซอลในหลาย อบต.ที่เกิดการหลุดร่อน แตกละเอียดเป็นเม็ด อาจเป็นเพราะใช้ยางสังเคราะห์ด้อยคุณภาพ เช่นยางจากล้อรถยนต์เก่า หรือยางเก่า เพื่อนำมาบดอัดเป็นยางแผ่นปูพื้นที่ ซึ่งมีราคาซื้อขายในท้องตลาดประมาณกิโลกรัมละ 10 บาท

ปัจจุบันมีสนามฟุตซอลในโครงการ 1 ตำบล 1 สนามที่ก่อสร้างไปแล้ว 208 สนาม งบประมาณ 229 ล้านบาท และในปี 2561 จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 38 สนาม แต่พบว่าสนามบางส่วนเกิดชำรุดแม้ก่อสร้างมาได้แค่ 2 ปี โดยก่อนจัดทำโครงการ ศอ.บต และสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ได้ตกลงที่จะนำยางซึ่งผ่านการศึกษา และผลิตจากสถาบันวิจัยมาใช้ปูพื้นที่ แต่จากการตรวจสอบในหลายพื้นที่พบว่า ยางปูพื้นมากกว่าครึ่งหนึ่งถูกนำมาจากพื้นที่อื่น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง