วันนี้(29 มิ.ย.2560) ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ หรือมก. กล่าวถึงกรณีชาวต่างชาติจับ และถ่ายรูปกับปลากระเบน เบื้องต้นตรวจสอบพบว่า ใบขออนุญาตศึกษาวิจัยหมดอายุตั้งแต่ปี 2559 โดยนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง มีอำนาจโดยตรงในการตรวจสอบเรื่องใบอนุญาต รวมทั้งรายละเอียดเรื่องข้อกำหนดต่าง ๆนอกจากนี้ไทยยังมีพ.ร.บ.สัตว์เพื่องานวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2558 หรือพ.ร.บ.สัตว์ทดลอง เพื่อให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ในงานวิจัย ซึ่งต้องตรวจสอบว่า กรณีดังกล่าวเข้าเกณฑ์ใดหรือไม่
ขณะที่หน่วยงานรัฐและเอกชนที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์หายาก เช่น ปลากระเบน พะยูน โลมา วาฬ จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมประมง เพราะเป็นผู้ดูแลสัตว์น้ำหายากการทดลองหรือศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ ต้องไม่เป็นการทรมานสัตว์ ในการวิจัยปลากระเบนบางทีก็อาจต้องจับขึ้นมา เนื่องจากเป็นสัตว์ตามธรรมชาติ แต่ตอบได้ยากว่าทารุณกรรม หรือไม่ทารุณกรรม บางอย่างอาจจำเป็น บางอย่างอาจดูเกินเลย
บรรจุ "กระเบนราหูน้ำจืด" บัญชีสัตว์คุ้มครอง
" ถ้าตกปลากระเบนโดยใบอนุญาตศึกษาวิจัยหมดอายุ หรือตกเพื่อกิจการอื่น จะถือว่ามีความผิด ต้องมีการสอบสวนรายละเอียด แต่ที่บอกได้คือ ไม่ควรเซฟฟี่ในลักษณะนั้น เพราะภาพที่ออกมาคนรู้สึกว่า ไม่ใช่การตกเพื่อศึกษาวิจัย ตรงนี้ต้องระมัดระวัง และอยากให้อธิบดีกรมประมง ออกมาตรวจสอบในเรื่องนี้"
ดร.ธรณ์ บอกอีกว่า ปลากระเบนราหูน้ำจืด หรือกระเบนเจ้าพระยา มีขนาดใหญ่ 2-3 เมตร ถือเป็นสัตว์หายาก และเป็นสัตว์เฉพาะของไทย ในปีที่ผ่านมาได้เสนอได้ปลากระเบนราหูน้ำจืด ให้อยู่กลุ่มสัตว์คุ้มครอง ภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 พร้อมกับวาฬบรูด้า ฉลามวาฬ ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.แล้ว และสอบถามขั้นตอนสุดท้ายของกฤษฎีกาอยู่ระหว่างในการทบทวนถ้อยคำก่อนจะประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ภายปีนี้