ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แนะรัฐแก้ปัญหาน้ำท่วมให้ตรงจุด - ทบทวนสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ

สิ่งแวดล้อม
13 ส.ค. 60
11:16
2,207
Logo Thai PBS
แนะรัฐแก้ปัญหาน้ำท่วมให้ตรงจุด - ทบทวนสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ
นักวิชาการ แนะรัฐบาลแก้ปัญหาน้ำท่วมให้ตรงจุด รื้อแบบสิ่งก่อสร้างที่ขวางทางน้ำ ใช้พื้นที่ธรรมชาติช่วยรับน้ำ

วันนี้ (13 ส.ค.2560) นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ตัวแทนอนุกรรมการสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เผยแพร่ข้อความและภาพผ่าน เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers โดยระบุว่า ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้ตรงจุด โดยการขยายประตูระบายน้ำให้เท่ากับลำน้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ และใช้ธรรมชาติช่วยในการรับน้ำ โดยมีเนื้อหาดังนี้

อยากให้รัฐบาลแก้น้ำท่วมให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น

เห็นผลการสรุปการประชุมทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีแล้ว เป็นห่วงและเร่งรีบจนทำให้หน่วยงานเร่งชงโครงการให้ ด้วยเหตุว่าต้องทันการประชุม ครม.สัญจรที่อีสาน ที่จะถึงอีกไม่กี่วันนี้

หลักให้เพิ่มแหล่งกักน้ำทำประตูควบคุมน้ำ และผันน้ำรวมทั้งระบบคลองและตลองไส้ไก่ ดูทั้งสิ่งกีดขวางทางน้ำ

เหตุเพราะน้ำท่วมและระบายช้าในลำน้ำชีและมูลรวมถึงลำน้ำสาขาเพราะประตูน้ำแคบและบีบให้เป็นคอขวด ควรขยาย หรือเพิ่มทางน้ำล้นมากกว่า แต่ที่ผ่านมาไม่กล้าทำ เพราะผิดแบบ ควรให้ประตูน้ำขยายเท่าลำน้ำ

สะพานที่ออกแบบผิดจากบางหน่วยงานไม่สอดคลองกับระบบนิเวศน์แม่น้ำ ออกแบบสะพานตั้งระนาบเดียวกับตลิ่ง น้ำมาก็ติดสะพาน มีหลายแห่งในน้ำชี ที่หนองแวง (แบบภาพที่เห็นเลย นี่ก็สิ่งกีดขวางทางน้ำ

คันไดร์ (คันกั่นน้ำ) น้ำชีคันไดร์พัง เพราะอยู่ติดแม่น้ำเกินไป ควรเปลี่ยนแนว

 

พื้นที่รับน้ำธรรมชาติ หรือป่าทามหายไป มีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบมากมาย แต่ไม่มีการตรวจสอบแต่ยังเล็งไปที่ภูเขาตามความเห็น กนช.ให้เอาคืนแล้วมาสร้างพื้นที่เขื่อน ที่จริงป่าทามทั้งหลายถูกบุกรุกมากกว่า ตรวจสอบด่วนเลย

 

แม่น้ำชี เป็นแม่น้ำคดเคี้ยวทำให้เก็บน้ำตามธรรมชาติได้ดี ควรเอาระบบนิเวศน์เดิมไว้เป็นแหล่งรับน้ำและให้เชื่อมน้ำกุด และบุ่งทาม ให้มากขึ้น

ควรมีเวลา ทบทวนสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างจริงจังแบบภาคใต้ที่ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เคยกล่าวไว้ว่าน้ำท่วมภาคใต้สาเหตุใหญ่มาจากสิ่งกีดขวางทางน้ำ และเร่งศึกษาและฟังคนในพื้นที่ควบคู่กันไป ไม่ต้องรีบจนละเลยหรอก ช้าลงนิดแล้วคิดให้ครบถ้วนจะเหมาะกว่า

หาแหล่งปันน้ำ ทบทวนโครงการขุดลอกที่ขุดดินมาขวางทางน้ำจนน้ำเข้าแหล่งน้ำเดิมไม่ได้ด้วย

เน้นธรรมชาติช่วยแก้ไขแทนการก่อสร้าง จะลงทุนลงไปแต่สุดท้ายมาติดตรงสิ่งก่อสร้างนี่แหละประเทศที่เจริญสุดท้ายน้ำต้องท่วมเพราะสิ่งก่อสร้าง

เห็นด้วยที่หาทางป้องกันชุมชน และเมืองที่ถูกน้ำท่วมให้เร่งมือขึ้น เมื่อป้องกันเมืองได้ หลายชุมชุมชนปลอดภัยและที่น้ำควรท่วมตามธรรมชาติและเสียหายน้อย น้ำท่วมนา ถ้าเกี่ยวข้าวแล้วก็จะเหมาะกว่า ส่วนภาคกลาง น่าจะหาข้อมูลไว้ก่อนส่าถ้าอีก 1-2 เดือน น้ำมาจะเอาน้ำเข้าทุ่งไหนบ้างเพื่อลดน้ำท่วมในบางจุด และเป็นข้อมูลว่า จุดไหนที่กระทบน้อยสุด ถ้าจะเกี่ยวก็เลือกพื้นที่ที่กระทบน้อยสุดเพื่อเป็นข้อมูลให้ตัดสินใจได้

13/8/60

ข่าวที่เกี่ยวข้อง