ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปชช.กังวลระบบความปลอดภัย ไม่กล้าใช้จ่ายผ่าน QR Code

เศรษฐกิจ
12 ก.ย. 60
19:55
1,120
Logo Thai PBS
ปชช.กังวลระบบความปลอดภัย ไม่กล้าใช้จ่ายผ่าน QR Code
ผู้บริโภคยังคงกังวลเรื่องความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด หวั่นถูกโจรกรรมข้อมูลบนสมาร์ทโฟน ขณะที่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ย้ำระบบมีความปลอดภัยสูงสุด พร้อมเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างความเข้าใจกับประชาชน

ตลาดละลายทรัพย์ย่านธุรกิจบนถนนสีลม เป็น 1 ในหลายตลาดที่ร้านค้าที่ทดลองติดตั้งคิวอาร์โค้ด รับชำระเงินอิเลอทรอกนิส์เพื่อให้บริการกับลูกค้า แต่คนส่วนใหญ่ยังซื้อสินค้าและชำระเงินด้วยเงินสด

ทิพย์ยา วิบูลสันติ ผู้บริโภค เล่าว่า ตนเองไม่กล้าจ่ายเงินผ่านคิวอาร์โค้ด เพราะกังวลว่าหากโทรศัพท์ไปอยู่ในมือคนอื่นจะถูกโจรกรรมข้อมูลทางบัญชีได้ ซึ่งเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ตนเองถูกขโมยโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทำให้ยิ่งกังวลใจว่าอาจจะถูกโจรกรรมข้อมูลที่มีอยู่ในโทรศัพท์และเงินในบัญชีหายไป เพราะเพียงสแกนคิวอาร์โค้ดก็สามารถชำระเงินได้ แม้จะต้องใส่รหัส หรือ สแกนลายนิ้วมือก็ยังไม่มั่นใจ เพราะมิจฉาชีพสามารถพัฒนาตามเทคโลยีที่เปลี่ยนไปรวดเร็วมาก เช่น การแฮกข้อมูลบัตรบนตู้เอทีเอ็ม

ขณะที่ณัฐิภา แซ่ตั้ง ผู้บริโภค เลือกซื้อผลไม้จากร้านที่ติดคิวอาร์โค้ด แต่ชำระด้วยเงินสด เธอยอมรับว่าการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดสะดวก แต่ไม่มั่นใจความปลอดภัยและกังวลว่าจะถูกลวงข้อมูลทางการเงิน เหมือนกับบัตรเครดิตที่เคยมีการโจรกรรมข้อมูลหลังจากรูดซื้อสินค้า

ปรัศนี อุยยามะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ยืนยันว่า การชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดปลอดภัยสูงสุด เพราะร้านค้าที่สร้างคิวอาร์โค้ดจะต้องให้ข้อมูลกับสถาบันการเงิน เช่น ชื่อร้าน ชื่อบัญชี เบอร์โทรศัทพ์ หรือเลขบัตรประชาชนที่ผูกกับบัญชีพร้อมเพย์ ซึ่งคิวอาร์โค้ดก็จะเป็นข้อมูลเฉพาะของร้านค้านั้น และก่อนชำระเงินผู้ซื้อจะต้องใส่รหัสทุกครั้ง หรือสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งจะมีข้อมูลของร้านค้าแสดงก่อนที่ผู้ซื้อจะกดชำระเงิน และมี sms แจ้งไปยังผู้ค้าทันทีที่เงินเข้า หากร้านค้าโจรกรรมข้อมูลก็จะสามารถตรวจสอบได้ทันที

สำหรับไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการพัฒนาระบบชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด แต่มีหลายประเทศที่พัฒนาระบบชำระเงินรูปแบบนี้ ซึ่งยังต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่คนไทยจะรับรู้ และมั่นใจความปลอดภัย สิ่งสำคัญคงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการพัฒนาระบบความปลอดภัยที่เพียงพอ ดึงให้คนหันมาชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด สู่เป้าหมายระบบชำระเงินหลักในอนาคตของไทย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง