วันนี้ (25 ม.ค.2561) นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานลงพื้นที่ตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าว โดยได้กวดขัน จับกุมและดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวที่กระทำผิดมาอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2560 ได้ตรวจสอบแรงงานต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทยไปแล้วจำนวน 392 คน เป็นเมียนมา 365 คน ลาว 12 คน กัมพูชา 6 คน เวียดนาม 3 คน อินเดีย 4 คน และอื่น ๆ 2 คน นายจ้าง และสถานประกอบการ จำนวน 301 แห่ง ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าว 67 คน เป็นเมียนมา 59 คน ลาว 2 คน กัมพูชา 2 คน เวียดนาม 3 คน อินเดีย 1 คน นายจ้างและสถานประ กอบการ 19 แห่ง
ส่วนในปี 2561 ได้ตรวจสอบแรงงานต่างด้าว จำนวน 297 คน เป็นกัมพูชา 2 คน ลาว 8 คน เมียนมา 279 คน เวียดนาม 5 อินเดีย 1 คน และ อื่นๆ 2 คน นายจ้าง สถานประกอบการ จำนวน 223 แห่ง ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าว จำนวน 55 คน เป็นเมียนมา 44 คน ลาว 3 คน กัมพูชา 2 คน เวียดนาม 5 อินเดีย 1 คน นายจ้างสถานประกอบการ 9 แห่ง
สำหรับมาตรการที่ช่วยเหลือนายจ้างในการพิสูจน์สัญชาติ เป็นการดำเนินการของประเทศต้นทาง 3 ประ เทศ แต่กระทรวงแรงงาน ได้อำนวยความสะดวกให้กับนายจ้าง โดยประสานประเทศต้นทางเพื่อจัดตั้งศูนย์บริการเพื่อการทำงานของคนต่างด้าวในรูปแบบ OSS โดยสัญชาติเมียนมามี 9 ศูนย์ คือ 1.จังหวัดสมุทรสาคร 2 แห่ง สมุทรปราการ ตาก เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ ระนอง สงขลา สัญชาติกัมพูชา 3 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร ระยอง สงขลา และลาว 1 แห่งที่กรุงเทพมหานคร
ซึ่งแต่ละศูนย์จะมีการพิสูจน์สัญชาติโดยประเทศต้นทาง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตรา (VISA) กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสุขภาพประกันสุขภาพ กระทรวงแรงงาน ออกใบอนุญาตทำงาน ทั้งนี้ ในแต่ละศูนย์ฯ สามารถดำเนินการพิสูจน์สัญชาติได้ 600-1,200 คน/วัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานมิได้นิ่งนอนใจ ได้จัดให้มี CEO ประจำศูนย์ทุกศูนย์ เพื่อจัดระบบคิว อำนวยความสะดวกในการดำเนินการ ขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้สะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอคิวนาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาดำเนินการ และขจัดปัญหาการเรียกรับหัวคิว ทั้งยังประสานทุกหน่วย รวมทั้งประเทศต้นทางเพื่อให้การพิสูจน์สัญชาติแล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2561