ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"รถเมล์ คะนึงนิจ" ชวนซื้อเสื้อ ระดมทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา

Logo Thai PBS
"รถเมล์ คะนึงนิจ" ชวนซื้อเสื้อ ระดมทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา
นอกจากการแสดง อีกสิ่งที่ชอบและแบ่งเวลาให้คืองานการกุศล จน "รถเมล์ คะนึงนิจ" ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เป็นผู้มีจิตศรัทธา จิตอาสาร่วมกิจกรรมของมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา และยังจะเดินหน้าเป็นกระบอกเสียงอย่างต่อเนื่อง

เพราะได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วยตัวเอง ทุกฉากทุกตอนที่เล่าจึงเรียกได้ว่ามาจากประสบการณ์ล้วนๆ เพราะนักแสดงสาว "รถเมล์ คะนึงนิจ" ร่วมกิจกรรม ทำประโยชน์ให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญามานาน จนถือได้ว่าเป็นขาประจำงานบุญ แต่ไม่ค่อยได้ออกตัว แต่สำหรับครั้งนี้เป็นงานใหญ่จึงแบ่งคิวงาน มาช่วยขายตรงเสื้อลายน่ารักๆ ที่ย่านสยามสแควร์ นำรายได้มอบให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยที่มีฐานะยากจน

ไปทำบุญกับทางมูลนิธิต่อเนื่องมากว่า 5 ปี ทั้งลงโพสต์ในหน้าเฟซบุ๊ก ไอจี ของตัวเอง จนทุกๆ ปี มีแฟนคลับยกขบวนไปช่วยเลี้ยงอาหารผู้ป่วย และสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิด้วยกันเสมอ

คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ นักแสดง-พิธีกร กล่าวว่า มูลนิธิส่วนใหญ่จะช่วยผู้ป่วยไม่มีญาติ ต้องดูแลค่าใช้จ่าย ยาแพง อาหารทุกมื้อ เขาจะกินเยอะกว่าปกติ มูลนิธิจะรับภาระ พอมีแคมเปญเช่นซื้อเสื้อ ก็จะเอาไปช่วยส่วนนี้

นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคจิตเวชส่วนใหญ่จะมีรายได้น้อย หรือบางคนไม่มีเลย ทำงานไม่ได้ก็จะขาดรายได้ ครอบครัวลำบาก เพราะบางบ้านเป็นหลายคนจากพันธุกรรม มูลนิธิก็จะช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่ารักษา อาหาร ค่าเดินทาง ก็มีดารานักแสดงหลายคนเข้ามาช่วยเหลือตรงนี้ รถเมล์ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มาช่วยไม่ขาด

ไหนๆ ก็เป็นงานบุญระดมทุนเพื่อสังคม พันธมิตรเจ้าถิ่นในนามวงจุฬาฯ เชมเบอร์ขอร่วมแจม ช่วยอีกแรง นำสมาชิกร่วม 40 คน มาเล่นดนตรีให้ฟังกันแบบสดๆ ยังเอาใจคนหลายวัย เลือกทั้งเพลงในกระแส เพลงรักในอดีต และเพลงดังฟังสบายมาร้องบรรเลง ใช้เสียงเพลงมอบความสุข งานนี้ รถเมล์ยังมาร่วมพูดคุยถึงการช่วยเหลือ การเยียวยาผู้ป่วยด้วยกิจกรรมและดนตรี

คะนึงนิจ กล่าวอีกว่า คิดว่าคนส่วนใหญ่กลัวที่จะเข้าไปในที่นั้น พอได้ยินว่าเป็นผู้ป่วยทางจิต ผู้ป่วยอยากเจอคนอยากคุย เราก็แค่เหมือนเป็นคนที่เขาได้เจอ เขารอเราทุกปีนะ ให้เขาได้ยิ้ม ได้ฟังดนตรี เขาจะสนุก อยากเต้น ได้สร้างรอยยิ้ม ทุกครั้งเข้าไปมีกิจกรรมเปิดเพลง ร้องเพลง จะมีความสุข มันอาจทำให้เขาหายเครียด

ศิโรวุฒิ ศรีนิเทศวาทิน ผู้อำนวยเพลง วงจุฬาฯ เชมเบอร์ กล่าวว่า อยากให้นักดนตรีมี activity กับสังคม คืนสังคม กลุ่มนิสิตอยากตอบแทน เขาใช้ดนตรีทำได้ มาแสดงตรงนี้เป็นจุดที่คนเลิกงานมา หรือคนผ่านไปมา ได้มีความสุขฟังดนตรีไปด้วยกัน

นอกจากได้ทำบุญทำประโยชน์เพื่อผู้ป่วยจิตเวช งานนี้ รถเมล์ยอมรับมากกว่าความสุข คือการได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ยอมรับในอาการ รวมถึงให้โอกาสผู้ป่วยในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้จากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นอีกภารกิจของมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง