วันนี้ (4 เม.ย.2561) นายธเนศ วีระศิริ นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท.กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารราชเทวีอพาร์ตเมนต์ ซอยเพชรบุรี 18 ที่เกิดเพลิงไหม้เมื่อวานนี้ (3 เม.ย.) และทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนบาดเจ็บ 61 คน โดยพบว่าอาคารดังกล่าวมีทั้งหมด 14 ชั้น ความเสียหายส่วนใหญ่พบที่ช่องชาร์ป หรือช่องเดินสายไฟที่ล้อมตัวท่อยืนอาคารทั้งหมด โดยเฉพาะที่พบว่าชั้น 2 มีวัสดุติดเพลิงไหม้เป็นหลักฐาน และไฟไหม้ขึ้นไปจนถึงชั้น 6 -7-8 จนถึงชั้น 12 ตรงนื้ที่บ่งชี้ว่ามีความเป็นไปไดสูง สันนิษฐานว่าต้นเพลิงต่ำกว่าช้น 5 ลงมา
สังเกตเห็นว่า ทำไมควันออกทุกชั้น และสำรวจพบว่าประตูที่ปิดช่องชาร์ปอยู่ตรงทางเดินทุกชั้นทำให้ควันไหล และลอยเข้าอาคารทุกชั้นอย่างต่อเนื่องมากที่ชั้น 8-9-10 และ 12 ทำให้มีเด็กวัย 17 ปีเสียชีวิต 1 คนในที่เกิดเหตุ
นายธเนศ กล่าวอีกว่า สำหรับอาคารแห่งนี้มีการขออนุญาตก่อสร้างปี 2530 แต่มีความสูงเกิน 23 เมตรข้อกฎหมายกำหนดไว้ และข้อกำหนดสร้างอาคารก่อนปี 2535 ต้องถูกบังคับใช้กฎกระทรวงปี 2547 โดยอาคารสูงต้องทำ 6 ระบบหลัก เช่น ต้องมีบันไดหนีไฟที่ไม่ใช่แนวดิ่ง หรือบันไดลิง ซึ่งกรณีอาคารแห่งนี้ถ้าตีความบันไดลิงที่มีอยู่ จึงไม่ใช่บันไดหนีไฟ และไม่มีความปลอดภัยเกิดขึ้นแน่นอน และข้อที่ 2 แผนผังแสดงตำแหน่งห้องที่ต้องติดที่หน้าลิฟ ห้องโถถงให้ชัดเจน นอกจากนี้ต้องเครื่องดับเพลิงมือถือไม่เกิน 1 พันตารางเมตร ต้องมี 1 เครื่องและใช้งานได้
ตึกนี้เราพบว่ามีสัญญาณเตือนเพลิงไหม้พบที่ชั้น 1 เท่านั้น ทั้งที่ต้องดิอย่างละเอียดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ต้องมีทุกชั้น กรณีเพลิงไหม้ครั้งนี้มีควันไฟมาก บันไดลิงคนหนีไมได้ ต้องไปรวมตัวรอเจ้าหน้าที่เข้าช่วย และตำแหน่งที่ออกมาขวางทางเดินของคน พอเปิดประตูเจอควันไฟ ไม่สามารถฝ่าลงมาลงบันไดหลักได้ และขวางตรงกลางเลยทั้ง 2 ปีก เจอควันไฟขวางตรงกลาง หากจะหนีต้องคลานหรือมุดให้ต่ำกว่าควันไฟ
นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้เจ้าของอาคารเก่าอยู่มีจำนวนมากยึดใช้กฎกระทรวง 47 มาตรการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งไม่ควรมองข้าม และในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ทางวสท.จะชี้จัดเวทีและให้คำแนะนำกับเจ้าของอาคาร และเจ้าพนักงานต้องถิ่นต้องเข้าไปดู ทั้งความปลอดภัยต่อคนพักอาคาร
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างหลักของอาคารยังไม่เสียหายมากนัก สามารถซ่อมแซม และเปิดใช้งานต่อได้ แต่ต้องตรวจสอบโครงสร้างรองอีกครั้ง เพราะเหล็กบางส่วนโดนความร้อน ทำให้พื้นโก่งตัว ซึ่งก็ต้องใช้วุฒิวิศวกร มาตรวจอย่างละเอียด ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ทำเรื่องไปยังเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาต จึงจะสามารถเปิดใช้งานได้ อาจต้องใช้เวลาอีกราวๆ 1-2 เดือนในการตรวจสอบอย่างละเอียด