ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำความเข้าใจระบบ TCAS ?

สังคม
30 พ.ค. 61
13:06
23,591
Logo Thai PBS
ทำความเข้าใจระบบ TCAS ?

ด้วยระบบการยื่นที่มีถึง 4 รอบ คือ รอบที่ 1 ใช้แฟ้มสะสมผลงาน รอบที่ 2 รับแบบโควต้า รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน รอบที่ 4 แอดมิชชั่น และรอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ โดยการยื่นคะแนนผ่านระบบกลาง

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในปี 2561 “TCAS” หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบที่ออกแบบ โดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย ลดปัญหาการกันสิทธิ์ (กั๊กที่) วิ่งรอกสอบ

เกณฑ์การคัดเลือกในระบบ TCAS แต่ละรอบ 

รอบที่ 1 : รับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน ในรอบนี้ไม่มีการสอบข้อเขียนและไม่ได้เป็นการรับทั่วไป แต่จะดูผลงานและความสามารถเป็นหลัก เช่น กีฬา ดนตรี การเรียนต้องมีความโดดเด่น เช่น นักเรียนทุน หรือ ผ่านการแข่งขันวิชาการระดับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ยื่นใบสมัครแสดงหลักฐานยืนยันก็เข้าเรียนได้ทันที ไม่ต้องยื่นคะแนน

รอบที่ 2 : สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือรอบเขตการศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด โดยมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบได้เองเลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9 วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา

รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน ซึ่งกำลังเป็นรอบที่มีปัญหามากที่สุดในขณะนี้ ในรอบนี้จะเป็นการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย ทปอ.จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัคร และมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีการเลือกอันดับ

รอบที่ 4 : การรับ Admission เป็นการใช้เกณฑ์การคัดเลือกแบบ Admission ผู้สมัครต้องยื่นผลสอบคะแนน GAT/PAT ร้อยละ 50 พร้อมคะแนน GPAT หรือ เกรด 6 เทอม ร้อยละ 20 และใช้คะแนน O-net ร้อยละ 30 สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา  

ในรอบนี้แต่ละคณะจะมีคะแนนเต็ม 30,000 คะแนน นักเรียนที่ได้เกรดสูงจากโรงเรียนต่างๆ จะได้เปรียบ เพราะใช้คะแนนรอบนี้ถึง 6,000 คะแนน

ขณะที่การสอบรอบสุดท้ายคือ รอบที่ 5 : รับตรงอิสระ แต่ละมหาวิทยาลัยจะเปิดรับสมัครและพิจารณาจากคะแนน GAT/PAT


ระบบ TCAS มีการเพิ่ม Clearing House ที่ใช้ในการยืนยันสิทธิ์ เพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายที่พร้อมกัน โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละรอบจะต้องกดยืนยันสิทธิ์ ในการที่จะเข้าเรียนได้แค่คนละ 1 ที่ เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการกันสิทธิ์คนอื่น (กั๊กที่) จากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากหลายที่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กั๊กที่นั่ง-ไม่มีตัวสำรอง TCAS รอบ 3

โซเชียลแห่ลงชื่อแก้ "กั๊กที่นั่ง" TCAS รอบ 3 ทะลุ 12,000 คน

TCAS วุ่น ม.6 ร้องแก้ปัญหา "กั๊กที่นั่ง" เปิดรอบ 3.2

ข่าวที่เกี่ยวข้อง