ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เสนอยกเลิกนำเข้า "สินค้าขยะพิษ" ใต้อนุสัญญาบาเซล

สิ่งแวดล้อม
13 มิ.ย. 61
17:34
2,758
Logo Thai PBS
เสนอยกเลิกนำเข้า "สินค้าขยะพิษ" ใต้อนุสัญญาบาเซล
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เตรียมเสนอทบทวนให้สินค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ และขยะอันตรายเข้าประเทศจากอนุสัญญาบาเซลชั่วคราว หลังพบโรงงานไม่ทำตามเงื่อนไข รวมทั้งกฎหมายขาดการควบคุม แต่ยอมรับไทยยังต้องเป็นภาคีสมาชิก เหตุต้องส่งสินค้าแบตเตอรี่มือถือ ออกไปกำจัดนอกประเทศ

วันนี้ (13 มิ.ย.2561) จากการประชุมแนวทางการจัดการขยะพลาสติกและสถานการณ์ขยะอิเล็ก ทรอนิกส์ มีพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประ ธาน โดยเชิญตัวแทนจากกรมโรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ หน่วยงานท้องถิ่น หารือถึงมาตรการแก้ปัญหาการลักลอบนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ และขยะอันตรายจากต่างประเทศเข้ากำจัดอย่างผิดวิธี 

พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) กล่าวว่า จากปฏิบัติการตรวจค้นโรงงานลักลอบนำเข้า และคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ เบื้องต้นตรวจค้นแล้ว 12 แห่งจาก 26 แห่งส่วนใหญ่โรงงานเกือบทุกแห่งกระทำผิดกฎหมาย ตั้งแต่กระบวนการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะพลาสติก การคัดแยก หรือกำจัดผิดวิธี ไม่มีระบบป้องกันมลพิษส่งผลให้ปนเปื้อนแหล่งน้ำสาธารณะและอากาศโดยรอบ ไม่ได้ขอนุญาตก่อสร้างโรงงานอย่างถูกต้อง โรงงานทั้งหมดเป็นของชาวต่างชาติ และหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ส่วนใหญ่ลงบัญชีขาดดุล ซึ่งประเทศไทยไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ กับการจัดตั้งโรงงาน 

ประเทศไทยไม่ได้รับอะไรเลยจากการตั้งโรงงาน ทั้งผลประโยชน์ทางภาษี การจ้างงาน เพราะแรงงานในโรงงานเป็นคนต่างด้าว ขยะประเภทนี้มีแต่มลภาวะ สารพิษที่ถูกเผาจะปนเปื้อนสวน ไร่นา ผลไม้ หรือไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทำอันตรายต่อเศรษฐกิจ แหล่งอาหารของคนไทยอย่างร้ายแรง

 

 

ชี้ไทยเสียเปรียบโรงงานนอมินีต่างชาติขนขยะพิษ

พล.ต.อ.วิระชัย ระบุว่าสำหรับข้อเสนอให้ทบทวนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย  เนื่องจากอนุสัญญาบาเซล มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันประเทศที่พัฒนาแล้ว นำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งที่ประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา ส่วนตัวเห็นว่าอนุสัญญาบาเซล มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่ต้องพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล ทำหน้าที่ได้ดี แล้วหรือไม่ พร้อมเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการเข้ามากำกับดูแล และศึกษาผลกระทบว่าควรอนุญาตให้นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่

โดยเตรียมนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแบบบูรณาการ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ทั้งนี้ ประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก ไม่มีใครอนุญาตให้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศอื่นเข้ามา ยกเว้นบางประเทศอย่างไทย

จ่อทบทวนอนุสัญญาบาเซล ไทยควบคุมไม่ทัน

ด้านนางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือ คพ.ยอมรับว่า ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าควรจะยกเลิกห้ามนำเข้าสินค้าที่อยู่ในข่ายอนุสัญญาบาเซลทั้งหมดหรือไม่ เพราะอนุสัญญาบาเซลมีข้อดี เนื่องจากไทย ซึ่งให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกในปี 2540 และมีผลบังคับใช้ในปี 2541 ไทยก็ได้ประโยชน์ในส่วนของการนำขยะของเสียอันตรายส่งออกไปกำจัดในประเทศที่มีขีดความสามารถ เช่น การนำหม้อแปลงไฟฟ้าครัวเรือนที่มีสารปรอท และสารพีซีบี ออกไปกำจัดในประเทศยุโรป ญี่ปุ่น รวมทั้งซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล้กทรอนิกส์ ซึ่งแม้ไทยจะเก็บและรวบรวมซากขยะมือถือไว้แต่ยังไม่มีโรงงานกำจัด

 

 

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า แต่ข้อเสียคือกรณีที่เราอนุญาตนำสินค้าที่เข้าข่ายอนุสัญญาบาเซลเข้ามาจัดการในไทย ถึงแม้จะมีกติกานำเข้ามาเพื่อใช้เพื่อรีไซเคิล เข้ามารูปของวัตถุดิบ และต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง แต่ประเด็นการควบคุมยังทั่วถึง เข้มงวดดีพอหรือไม่ หากโรงงานที่รับมามีการจัดการที่ถูกต้องตั้งแต่นำเข้ามา รับอนุญาต และแจ้งว่าจะนำสินค้าใดๆเข้ามา และจัดการด้วยวิธีการแบบไหน และส่งต่อใคร สิ่งที่เจอคือ ขอนำเข้าสินค้าผิด สำแดง เป็นประเด็นที่ยากตรวจสอบ ทำให้เราต้องเพิ่มความเข้างวดในกระบวนการภายในประเทศ

 
ตอนที่เราเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาบาเซล วิเคราะห์สถานการณ์ตอนนั้นว่าเราเข้าภาคีจะได้ประโยชน์ เพราะมีกฎหมายเพียงพอที่จะควบคุม แต่สถานการณ์ในขณะนี้อาจจะต้องมาทบทวน และดูความพร้อมของประเทศว่าถ้าเรายังอนุญาตให้นำเข้า จะได้มากกว่า หรือเสียมากกว่า รวมทั้งมาตรการภายในเพียงพอต้องเพิ่มอะไรต้องมีการทบทวน ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ทันทีว่าต้องเลิก 
นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

 

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ท่านพล.ต.อ.วิระชัย เสนอให้ทบทวน ขณะนี้เราอาจจะต้องหยุด เพราะโควตาอนุญาตนำเข้าที่ให้กับโรงงานที่ขออนุญาต ยังมีคนนำเข้ามาอีก แต่เราเจอว่าที่นำเข้ามามีปัญหาอยู่ตอนนี้เราอาจจะมีหลยทงเลือกคือการหยุดและขอเคลียร์จัดการของที่ผิดก่อน และหากนำเข้ามาและจัดการ จัดระบบผู้ที่เคยนำเข้าก็ได้ เป็นทางเลือก และต้องทบทวน ส่วนจะยกเลิกชัวคราว หรือถาวร ตรวนี้ต้องมาทบทวนกันก่อน

ตอนนี้อาจต้องเบรกชั่วคราวเพราะ ที่ขยะเข้ามา ถาเข้ามาตามขั้นตอนบาเซลจะมีรายละเอียดควบคุมชัดเจน แต่ที่ยากควบคุมเพราะไม่ได่อยู่ในรายการสินค้าบาเซล แต่แจ้งเป็นสินค้าทัวไป มาตรการตรงนี้จึงหลุดไป และต้องมาทบทวนว่าภายในประเทศ กฎหมายเรามีเพียงพอ หรือในการปฏิบัติการ การบังคับกฎหมายและติดตาม บังคับ ยังมีช่องว่างอย่างไร 

สินค้าที่อนุญาตจากอนุสัญญาบาเซลมีอะไรบ้าง

จากการตรวจสอบพบว่าไทยให้สัตยาบัน เป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซล เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2540 อนุสัญญาบาเซลมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.2541 อนุสัญญาจะควบคุมการขนส่งเคลื่อนย้ายกากสารเคมีประเภทต่างๆ ซึ่งเดิมได้กำหนดบัญชีรายชื่อของเสียที่ควบคุมเพียง 47 ชนิด แต่ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไข และจัดกลุ่มใหม่เป็น List A ซึ่งมี 61 ชนิด ได้แก่ 1. ของเสียประเภทโลหะ 19 ชนิด เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แอสเบสตอส แคดเมียม  2.ของเสียประเภทอนินทรียสาร 6 ชนิด เช่น สารเร่งปฏิกิริยาฟลูออลีน  3.ของเสียประเภทอินทรียสาร 20 ชนิด เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเตา 4. ของเสียประเภทอนินทรียสารและหรืออินทรียสาร 16 ชนิด เช่น ของเสียจากโรงพยาบาลวัตถุระเบิด 

 

 

ของเสียที่อยู่ใน List A จะถูกห้ามไม่ให้มีการขนส่งเคลื่อย้ายจากประเทศ OECD ไปยังประเทศ Non OECD ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2541 เป็นต้นมา ส่วนบัญชีรายชื่อของเสียใน List B ซึ่งเป็นของเสียไม่อันตรายนั้น ได้รับการยกเว้นให้มีการเคลื่อนย้ายเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์หรือใช้ใหม่ได้ เช่น เศษเหล็ก ทองแดง ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซรามิก พลาสติก กระดาษและของเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น นอกจากของเสียที่ถูกควบคุมภายใต้อนุสัญญายังรวมถึงของเสียอื่น ซึ่งมีลักษณะตามภาคผนวกที่ 3 และของเสียที่ภาคีสมาชิกกำหนดห้ามนำเข้าภายในประเทศของตน เพิ่มจากที่กำหนดไว้เดิมก็ได้

ขณะที่การควบคุมจะเริ่มตั้งแต่ก่อนการนำเข้าส่งออกและนำผ่านของเสียอันตรายไปยังประเทศอื่นจะต้องแจ้งรายละเอียดและขออนุญาตตามขั้นตอนจากหน่วยงานที่มีอำนาจ (Competent Authority) ของประเทศที่เกี่ยวข้อง (Competent Authority ของปรเทศไทย คือกรมโรงงานอุตสาหกรรม) การขนส่งต้องบรรจุหีบห่อติดป้ายขนส่งด้วยวิธีการที่กำหนดตามาตรฐานสากล ตลอดจนต้องมีการประกันภัยและรับผิดชอบในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นโดยต้องนำกลับภายใน 30 วัน และต้องชดใช้ค่าเสียหายหากเกิดอุบัติเหตุมีการรั่วไหลหรือปนเปื้อน

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

"นายกรัฐมนตรี" สั่งสกัดโรงงานเถื่อนลอบขนขยะไฮเทค

ปักหมุดจังหวัดเสี่ยง ลักลอบทิ้งขยะอันตราย

สุ่มตรวจ"สารโลหะหนัก"กลุ่มเสี่ยงเด็ก 5 ขวบ บ้านฆ้องชัย

ตำรวจสั่งปิด "หวางเสี่ยวตง" โรงงานลักลอบคัดแยกขยะอันตราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง