ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ส่ง "ทีมหุ่นยนต์ดำน้ำ" สจพ.สำรวจถ้ำหลวงช่วย 13 ชีวิต

สังคม
26 มิ.ย. 61
12:08
20,589
Logo Thai PBS
ส่ง "ทีมหุ่นยนต์ดำน้ำ" สจพ.สำรวจถ้ำหลวงช่วย 13 ชีวิต
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ. นำหุ่นยนต์ดำน้ำ 1 เครื่อง และโดรนติดกล้องตรวจจับความร้อนบินสำรวจ 2 ลำ เดินทางโดยเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 ของกองทัพอากาศ ไปช่วยค้นหาผู้สูญหายในถ้ำหลวง มั่นใจช่วยระบุพื้นที่และเส้นทางให้ช่วยค้นหาผู้สูญหายได้แน่นอน

วันนี้ (26 มิ.ย.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ นำเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 13 คน พร้อมด้วยหุ่นยนต์ดำน้ำ 1 เครื่อง และโดรนติดกล้องตรวจจับความร้อนบินสำรวจ 2 ลำ เดินทางโดยเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 ของกองทัพอากาศไปยัง จ.เชียงราย เพื่อเข้าร่วมภารกิจค้นหาผู้สูญหายในถ้ำหลวง


นายสว่างทิตย์ ศรีกิจสุวรรณ หัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ชี้แจงถึงภารกิจว่าจะใช้ยานสำรวจดำน้ำเพื่อนำร่องสำรวจสภาพภายในถ้ำ เปิดทางให้นักประดาน้ำสามารถเข้าไปในพื้นที่ได้มากขึ้น โดยหุ่นยนต์ดำน้ำ ROV สามารถเคลื่อนที่ด้วยคำสั่งในการควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งความเร็วและตำแหน่งพร้อมทั้ง สามารถบอกพิกัดตำแหน่งของหุ่นยนต์ได้อย่างถูกต้อง หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำสามารถสู้กับตัวแรงดันน้ำได้ ประมาณ 100 เมตร หรือดำน้ำระดับที่ลึกมากๆ ได้


แต่ภายอาจจะมีอุปสรรคหลายอย่างทั้งสภาพพื้นที่และมีโคลนบางจุด แต่ตัวอุปกรณ์อาจใช้กล้องติดตั้งเข้าไปด้วย ซึ่งหุ่นยนต์สามารถทำงานแต่ละครั้งต่อเนื่องได้ 2-3 ชั่วโมง คาดว่าจะช่วยเปิดทางสำรวจให้นักประดาน้ำรุ้พิกัดพื้นที่มากขึ้น

สำหรับการออกแบบและควบคุมหุ่นยนต์ดำน้ำแบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรมน้ำลึกหรือที่เสี่ยงภัยในการปฏิบัติงานใต้น้ำ สามารถเคลื่อนที่แบบ 4 องศาอิสระ ทั้งแนวตั้ง แนวนอน แนวลึก


สามารถสำรวจและระบุพิกัดตำแหน่งบริเวณที่หุ่นยนต์ดำน้ำอยู่ได้การควบคุมการทำงานในระยะไกลได้ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก อาศัยการควบคุมโดยใช้ ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor ) รุ่น ARM 7 ติดตั้งบนหุ่นยนต์ดำน้ำ

ส่วนการติดต่อสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์ดำน้ำกับผู้ปฏิบัติงานสามารถทำการสื่อสารผ่านชุดการสื่อสารผ่าน คอมพิวเตอร์ ส่วนอุปกรณ์ sensor นั้น ใช้สามารถวัดตำแหน่ง ทิศทาง มุม และใช้วัดความลึก จากเซนเซอร์ติดตามความดันอากาศชุดปฎิบัติภารกิจสำรวจและค้นหาด้วยยานขับเคลื่อนใต้น้ำชนิดใช้สายควบคุม

ทั้งนี้ นายสว่างทิตย์ ระบุว่า ขณะนี้จะเข้าไปในพื้นที่ เพื่อรับฟังเจ้าหน้าที่ชี้แจงแผนการทำงานก่อน เบื้องต้นได้รับรายงานว่า น้ำภายในถ้ำมีสีขุ่นมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ จึงทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ทราบสภาพเส้นทางที่ยังเข้าไม่ถึงว่ามีความลึกหรือกว้างขนาดไหน ยานสำรวจดำน้ำนี้จะช่วยระบุพื้นที่และเส้นทางได้อย่างชัดเจนและทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานในการค้นหาผู้สูญหายได้ง่ายยิ่งขึ้นแน่นอน

 

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

สื่อต่างประเทศรายงานข่าวการช่วยเหลือ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง 

แข่งกับเวลา! เร่งติดตั้งเครื่องจักรสูบน้ำออกนอกถ้ำหลวง 

ค้นหาทางเข้าใหม่ "ถ้ำหลวง" ช่วย 13 ชีวิต 

ส่ง "ทีมหุ่นยนต์ดำน้ำ" สจพ.สำรวจถ้ำหลวงช่วย 13 ชีวิต 

ฝนตกอุปสรรคช่วย 13 ชีวิต - เร่งสูบน้ำลดระดับน้ำในถ้ำ 

เปิดตำนาน "ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน" จ.เชียงราย 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง