ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เบื้องหลัง ความยาก “เจาะโพรงถ้ำหลวง”จุดลึกสุด 800 เมตร

สังคม
19 ก.ค. 61
12:15
1,671
Logo Thai PBS
เบื้องหลัง ความยาก “เจาะโพรงถ้ำหลวง”จุดลึกสุด 800 เมตร
เบื้องหลัง ความยาก "เจาะโพรงถ้ำหลวง” จุดลึกสุด 800 เมตร ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะอาจไม่ปลอดภัยเนื่องจากมีแนวรอยเลื่อนอาจไม่ปลอดภัยกับโครงสร้าง บวกกับต้องใช้เวลาในการเจาะ ขณะที่กรมอุทยานฯ-กรมทรัพยากรธรณี เตรียมศึกษาถ้ำหลวงอย่างละเอียด

วันนี้ (19 ก.ค.2561) จากการเสวนาถอดบทเรียน “ปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรม 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง” : ภาพกว้างการควบคุมและจัดการปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า ถ้ำหลวง เชียงราย จัดโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชน

นายสมหมาย เตชวาล รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณี ได้ร่วมกับนักวิชาการด้านธรณีวิทยาช่วยสนับสนุนข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยาแนวถ้ำ และการสำรวจโพรงถ้ำบนดอยผาหมี เพื่อส่งต่อให้พื้นที่ใช้ในการสำรวจปล่องโพรงหาจุดที่เข้าถึงทีมหมูป่าอะคาเดมีติดบริเวณเนินนมสาว โดยหนึ่งในวิธีการที่วางแผนไว้คือเจาะโพรงถ้ำจากด้านบน จากข้อมูลทำให้พบว่าความหนาและความลึกของถ้ำหลวงอยู่ทีความลึกไล่ตั้ง 300-800 เมตร ตอนนั้นคำนวณว่าถ้าเจาะโดยกำหนดว่าต่อหนึ่งวันต้องทำให้ได้ ประมาณ 100 เมตรต่อวันจะใช้เวลาหลายวัน

ข้อมูลจากนักสำรวจถ้ำ และการประเมินแผนที่ทางธรณีวิทยา ซึ่งได้ทำการสแกนถ้ำหลวงออกมา พบว่าบางปล่องโพรงมีชั้นความลึก 400 เมตรจนถึงครึ่งกิโลกว่า และโพรงที่ 3 มีความลึกถึง 700-800 เมตร ส่วนโพรงทางด้านเหนือของดอยผาหมี หรือโพรงที่ 7 น่าจะเป็นจุดต่อทะลุถึงเนินนมสาวได้ แต่เนื่องจากข้อมูลจากซีลเอง ลองเคาะชั้นโพรงหินปูนดูแล้วอาจจะไม่ปลอดภัย เพราะเป็นแนวรอยเลื่อน 

นายสมหมาย ยอมรับว่า ในส่วนการสนับสนุนทางวิชาการที่จะเอาเด็กออกจากปากถ้า จะเป็นโพรงหรือการเจาะ ถือเป็นครั้งแรกที่นักธรณีวิทยาเจอสิ่งที่กดดัน การทำงานแข่งกับเวลาที่แท้จริง โดยเฉพาะข้อความจากนายเวริ์น ที่ส่งจดหมายบอกบอกว่าเวลามีไม่มากที่จะต้องเร่งช่วยเหลือเด็กทั้ง 13 คน

 

ชี้ความพร้อมหมูป่า-ทีมงาน-เอื้อแผนอพยพสำเร็จ

นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือปภ.บอกว่า ปภ.เข้าสนับสนุนในโครงสร้างแผนการช่วยเหลือทีมหมูป่า เพราะถือเป็นสาธารณภัยที่ต้องช่วยเหลือ ทุกวิธีการและเทคนิคเพื่อช่วยเหลือให้เด็กปลอดภัยถูกนำมาใช้โดยไม่ปิดกั้น  ซึ่งการตัดสินใจนำเด็กออกจากถ้ำมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้สำเร็จ สิ่งแรกคือทีมงานทั้งหมด นอกจากนี้หลังจากเจอเด็กๆต้องทำให้เด็กต้องมีความพร้อมทางด้านร่างกาย และจิตใจ ทีมงานทั้งซีลและทีมดำน้ำต่างประเทศที่เชี่ยวชาญ อุปกรณ์ต่างๆ และการวางระบบสูบน้ำ-ระบายน้ำจากถ้ำ และอุดน้ำไม่ให้เติมในถ้ำต้องทำงานร่วมกัน 

ทุกวิธีถูกนำมาประเมิน เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กออกจากจุดเนินนมสาวมีพื้นที่ประมาณ  5 คูณ 5 เมตร เพราะเราตีความว่าอากาศจะสบาย แต่พอช่วงหลังอากาศออกซิเจนมีน้อย ปัจจัยเรื่องจะมีฝนตกหนักลงมา และหน่วยงานเห็นตรงกันว่าจะเจาะโพรงลงไปเอาตัวเด็กทุกวิธีการใช้ระยะเวลา ดังนั้นจึงนำมาสู่การตัดสินใจว่าเข้าจากปากถ้าก็ต้องออกปากถ้ำ และเป็นช่วงที่เหมาะสุดทำให้งานนี้ลุล่วง

 

 

บีบคั้นใจสุด เด็กทุกคนต้องปลอดภัย

ด้านนายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช กล่าวว่า ยากที่สุดตอนที่จะนำเด็กออกมา แต่ยังเชื่อมั่นว่าเด็กจะออกมาได้อย่างปลอดภัย ยอมรับว่า บีบคั้นหัวใจมาก ท่านอดีตผู้ว่าฯเชียงราย นายณรงค์ศักดิ์  โอสถธนากร มีความเป็นผู้นำมาก หนึ่งในประโยคที่ท่านพูดคือ

ถ้าเด็กเป็นอะไรแม้แต่คนเดียวถือว่าล้มเหลวหมด ถือเป็นการบีบหัวใจ และจึงเป็นที่มาของการเลือกวันเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพราะพยากรณ์อากาศบอกอีก 2-3 วันฝนจะลงมา สถานการณ์เปลียนหมดและตัดสินใจกันที่จะต้องย้ายเด็กออกมาจากถ้ำ 

นายจงคล้าย กล่าวถึงแผนการสำรวจถ้ำว่า หลังจากนี้จะเชิญกรมทรัพยากรธรณี เข้าไปศึกษาภายในถ้ำ หลวงอย่างละเอียด ทั้งข้อมูลรายละเอียดธรณีสัณฐาน แผนผัง ตัวถ้ำเป็นอย่างไร โดยการพัฒนาพื้นที่ถ้ำหลวงต้องทำแบบระมัดระวังและเอาเรื่องระบบนิเวศเป็นหลัก

โดยทางกรมอุทยานฯ ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี จะเป็นคัดเลือกถ้ำที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปจำนวนมาก จำนวน 10 แห่ง จากถ้ำในความรับผิดชอบของกรมอุทยานฯ จำนวน 169 แห่งเพื่อดำเนินโครงการนำร่อง ซึ่งถ้ำหลวง จะเป็นพื้นที่ 1 ใน 10 แห่งที่เข้าสู่โครงการนำร่องดังกล่าว โดยจะมีการจัดประชุมอย่างเป็นทางการในเดือน ก.ย.นี้

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

สมาชิกทีมหมูป่าเตรียมบวชอุทิศให้จ่าแซม 24 ก.ค.นี้

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง