ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ยาแอสไพรินแช่ปลาหมึก "คนแพ้" เสี่ยงถึงตาย

สังคม
13 ก.ย. 61
18:22
4,917
Logo Thai PBS
ยาแอสไพรินแช่ปลาหมึก "คนแพ้" เสี่ยงถึงตาย
เพจเฟซบุ๊ก เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว เตือนพบพ่อค้าหัวใสใช้ยาแก้ปวดใส่ในปลาหมึกให้เต่งตึง และสด ชี้อันตรายยาแก้ปวดตกค้างในปลาหมีกแม้จะผ่านการปรุงสุก กลุ่มเสี่ยงผู้ที่แพ้ยาแพ้ NSAIDs มีอันตรายถึงตาย

วันนี้ (13 ก.ย.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ได้เผยแพร่ข้อมูลใกล้ตัวว่า มิติใหม่ของยาทัมใจ เมื่อพ่อค้าหัวใสบางคนซื้อไปเพื่อแช่ปลาหมึกให้เต่งตึง จากโพสต์ของเจ้าของโพสต์ที่เป็นเภสัชกร ที่บอกว่ามีคนซื้อยาทัมใจไปแช่ปลาหมึกเพื่อให้เด้ง

ปกติแล้วเวลาพ่อค้าซื้อปลาหมึกแช่แข็งมานั้น มักจะมีลักษณะเหี่ยวเนื้ออ่อนยวบยาบจนไม่ได้น้ำหนัก และหน้าตาไม่น่ากินเลย ดังนั้นเหล่าพ่อค้ าจึงมักจะนำปลาหมึกนั้นมาแกว่งในน้ำแข็งผสมเกลือบ้าง ยาทัมใจบ้าง โซดาบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่พวกนี้จะทำให้เกิดการ salting in จากการออสโมซิส(osmosis) ของน้ำเข้าไปจนเนื้อปลาหมึกเต่งตึงดูขาวเหมือนใหม่ได้

 

 

แต่ตอนนี้พบใช้ยาทัมใจ ซึ่งปกติแล้วยาทัมใจก็เป็นยาแอสไพริน  ที่มีชื่อทางเคมีว่า acetylsalicylic acid ที่อยู่ในกลุ่ม NSAIDs มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้ และยาแก้อักเสบ และแถมยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดได้ด้วย ซึ่งก็แน่นอนว่า “ห้ามใช้กับคนที่แพ้ NSAIDs“ ด้วย

ดังนั้นพฤติกรรมของพ่อค้าที่นำเอายาทัมใจหรือแอสไพรินยี่ห้ออื่นมาแช่ปลาหมึกนี่ เรียกว่าเป็น #ฆาตกร สำหรับผู้ที่แพ้แอสไพรินได้อย่างเลือดเย็นเลยทีเดียว เพราะแอสไพรินนั้นเป็นกรดที่ขนาดโมเลกุลค่อนข้างใหญ่และมีสัมพรรคภาพ กับโปรตีนได้ดีเลยทีเดียว จึงทำให้ล้างออกยากมาก 

 

ชี้ปรุงสุกแต่ยายังติดอยู่อันตรายถึงตาย 

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สอบถามไปยังแอดมินเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ได้รับการยืนยันว่าถึงแม้การปรุงปลาหมึกที่ผ่านการแช่ด้วยยาดังกล่าวแม้จะถูกทำลาย ก็ยังเหลือ Salicylic acid ที่เป็นอันตรายต่อคนแพ้แอสไพรินได้ 

แต่ละบุคคลมีอาการแพ้ที่ต่างกัน บางกรณีที่อาจจะมีการเม็ดเลือดแดงแตกง่ายจากอาการ ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี ที่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมก็อาจจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้เสียชีวิตได้

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง