ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"พะโล้-จับฉ่าย" ติดโผ "เมนูเจ" สุดเค็มเสี่ยงโรค

สังคม
10 ต.ค. 61
19:39
2,644
Logo Thai PBS
"พะโล้-จับฉ่าย" ติดโผ "เมนูเจ" สุดเค็มเสี่ยงโรค
แพทย์ด้านโรคไต เตือนเมนูเจยอดฮิต โดยเฉพาะพะโล้ ต้มจับฉ่าย ขนมจีนน้ำยากะทิ ปรุงรสจนเค็มเกินมาตรฐาน เสี่ยงต่อสุขภาพ ในกลุ่มโรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน

ผัดหมี่ซั่ว เป็นเมนูที่ร้านอาหารเจในตลาดสามย่านร้านนี้ ทำขายเป็นประจำทุกวันในช่วงเทศกาลกินเจ เพราะได้รับความนิยมจากลูกค้า

เจ้าของร้าน บอกว่า การทำอาหารเจ ไม่ว่าจะเป็นเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ต้องคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพปรุงสดใหม่ เพิ่มความกลมกล่อมด้วยเกลือและซีอิ้ว ในปริมาณที่พอดี ไม่เค็มจนเกินไปเพื่อให้ได้รสชาดที่อร่อย และดีต่อสุขภาพของลูกค้า

ธิดาวรรณ นันทอารี ลูกค้าร้านอาหารเจ ลูกค้าที่รับประทานอาหารเจเป็นประจำทุกปี เล่าว่า นอกจากจะเลือกซื้ออาหารจากร้านที่สะอาด ปรุงสุก ใหม่ทุกวันแล้ว ยังเน้นเมนูอาหารที่ไม่มัน หรือรสจัดจนเกินไป

 

 

ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ สาขาวิชาโรคไต โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำ แนะนำให้ผู้ที่กินเจควรลดบริโภคโซเดียม หรืออาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป หรือทานน้ำซุป เพราะมีเกลือสูง อาหารหมักดอง

ทั้งนี้ผลการสุ่มตัวอย่างอาหารเจ 13 เมนูตามมาตรฐานที่กำหนด 200 กรัมในแต่ละเมนู พบว่า พะโล้ มีโซเดียมสูงสุดเฉลี่ย 1,092 มิลลิกรัม รองลงมาต้มจับฉ่าย 1,055 มิลลิกรัม และขนมจีนน้ำยากะทิ 1,037 มิลลิกรัม

ถ้าไม่มีเนื้อสัตว์ มักจะปรุงรสชาติให้จัดจ้านให้คนยอมรับมากขึ้น โดยพาะอาการที่ซื้อในท้องตลาด ทำให้ได้รับน้ำตาล เกลือ ซีอิ้ว เยอะและมีความสี่ยงกับคนไข้โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ 

 

ซึ่งในแต่ละมื้อ ควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 600 มิลลิกรัม หรือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะในแต่ละปี มีผู้ป่วยถึง 2 ล้านคนที่มีพฤติกรรมกินเค็ม

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ยังแนะนำให้ผู้ที่กินเจ เลือกทานผักสด หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด และลดแป้ง เน้นอาหารพวกธัญพืชหรือน้ำเต้าหู้ ส่วนผู้ป่วยเบาหวานควรลดปริมาณข้าวให้น้อยลง เพื่อให้การกินเจตลอด 9 วันนี้ นอกจากได้บุญแล้วและยังดีต่อสุขภาพด้วย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง