ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สั่งปิด 15 วันตึกผู้ป่วยนอก รพ.พระราม 2 ดัดแปลงจากลานจอดรถ

สังคม
15 พ.ย. 61
10:18
1,049
Logo Thai PBS
สั่งปิด 15 วันตึกผู้ป่วยนอก รพ.พระราม 2 ดัดแปลงจากลานจอดรถ
สบส.สั่งห้ามใช้อาคารลานจอดรถโรงพยาบาลพระราม 2 ที่ปรับปรุงเป็นตึกผู้ป่วยนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้เวลาแก้ไขภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการถูกสั่งปิดสถานพยาบาลชั่วคราว ส่วน "อัจฉริยะ"เดินหน้าต่อยื่น สธ.ทบทวนต่อใบอนุญาตสถานพยาบาลที่จะหมดอายุสิ้นปีนี้

กรณีมีการยื่นเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบคุณภาพการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลพระราม 2 หลังเกิดเหตุหญิงที่ถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิต โดยญาติผู้เสียชีวิต ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเพราะโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาฉุกเฉิน 

วานนี้ (14 พ.ย.2561) นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส. เผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการเอาผิดโรงพยาบาลพระราม 2 เพราะต้องรวบรวมหลักฐานข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ในวันที่ 19 พ.ย.นี้ หากพบว่าผิดจะมีโทษตามมาตรา 36 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบความผิดในส่วนอื่นของโรงพยาบาล คือดำเนินการไม่ได้มาตร ฐาน โดยมีการปรับปรุงอาคารจอดรถเป็นส่วนให้บริการผู้ป่วยนอก ทั้งที่ยังไม่ได้รับอนุญาต

เบื้องต้นได้สั่งให้โรงพยาบาล ระงับการให้บริการส่วนนี้แล้ว รวมทั้งให้ดำเนินการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานภายใน 15 วัน หากยังไม่ดำเนินการใดๆ จะพิจารณาสั่งปิดสถานพยาบาลชั่วคราว จนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้องก่อน และหากยังไม่ดำเนินการก็จะพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต

ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส. กล่าวว่า สาเหตุที่ สบส.ยังไม่มีการระบุความผิดแก่โรงพยาบาล กรณีการให้บริการหญิงที่ถูกสาดน้ำกรด เนื่องจากต้องเชิญผู้เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน สถาบันการ แพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. และแพทยสภา มาให้ความเห็นว่าการดำเนิน เป็นไปตามมาตรฐานการรักษากรณีฉุกเฉินหรือไม่

สพฉ.ยันชัดเคส "ช่อลัดดา"เข้าข่ายฉุกเฉิน

ขณะที่นพ.สัญชัย ชาสมบัติ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  เผยว่าหากพิจารณาตามข่าวที่ระบุว่า มีการดูดสารน้ำจากปอด พบในปริมาณถึง 2 ลิตร ถือว่ามีภาวะปอดบวมเฉียบพลัน เป็นระบบระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ดังนั้น กรณีนี้เข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉิน เพราะเกิดปัจจุบันทันด่วน การถูกสารพิษก็ถือว่าทันด่วน แต่ฉุกเฉิน สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง หากสีแดงก็ต้องวิกฤติ ซึ่งกรณีนี้เป็นการรบกวนระบบทางเดินหายใจ ถือว่าเข้าข่ายวิกฤติ

 

ด้านนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม หลังจากเข้ายื่นหนังสือกับผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน เพื่อขอให้ตรวจสอบใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลงอาคาร ตรวจสอบอาคาร และใบอนุญาตเปิดใช้อาคารของ โรงพยาบาลพระราม 2 ยังเตรียมจะยื่นหนังสือร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุข ทบทวนการต่อใบอนุญาตโรงพยาบาลพระราม 2 ที่จะครบกำหนดสิ้นปีนี้ จนกว่าจะได้รับการแก้ไขในมาตรฐานสถานพยาบาล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก "ซัลฟิวริก" กรดพิษถึงตาย

ปิดบัญชี "รพ.พระราม 2" ไม่มีหมอ-จ่อถูกพักใบอนุญาต

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง