ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พังแน่ ! "หาดกะรน" ทช.เบรกเขื่อนดูรา-โฮลด์ กระทบระยะยาว

สิ่งแวดล้อม
22 พ.ย. 61
12:07
12,685
Logo Thai PBS
พังแน่ ! "หาดกะรน" ทช.เบรกเขื่อนดูรา-โฮลด์ กระทบระยะยาว
ทช.ลงพื้นที่ร่วมกับนายอำเภอเมืองภูเก็ต-นักวิชาการ เพื่อหาทางออกเขื่อนดูรา - โฮลด์ หาดกะรน จ.ภูเก็ต ความยาว 470 เมตร สรุปชัด "หาดกะรน" เป็นลักษณะหาดสมดุล ไม่ควรมีการก่อสร้างใด เพราะจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งระยะยาว

วันนี้ (22 พ.ย.2561) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า กรณีการก่อสร้างเขื่อนดูรา-โฮลด์ บริเวณหน้าหาดกะรน ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยเมื่อวานนี้ (21 พ.ย.) มอบหมายให้นายปรานต์ ดิลกคุณากุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง  ลงพื้นที่ร่วมกับว่าที่ ร.ต.วิกรม จากที่ นายอำเภอเมืองภูเก็ต นายกเทศมนตรีตำบลกะรน เจ้าหน้าที่สำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ผู้ทรงคุณวุฒิจากทช. เพื่อตรวจสอบ และหาทางออกร่วมกันการสร้างเขื่อนดังกล่าว

นายจตุพร กล่าวว่า จากการรายงานผลเบื้องต้น พบว่าพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับ ปรุงภูมิทัศน์และสาธารณูปโภคบริเวณหนองหาน และเป็นการป้องกันดินในพื้นที่ไหลลงสู่ทะเลโครงสร้างมีความยาวทั้งหมด 470 เมตร ปัจจุบันก่อสร้างแล้วประมาณ 280 เมตร

ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดลงความเห็นร่วมกันว่าพื้นที่นี้มีลักษณะเป็นหาดสมดุล ไม่ควรมีการดำเนินการก่อสร้างใดๆ ในพื้นที่หน้าหาดเกินจากแนวเส้นชายฝั่ง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในระยะยาวได้

ทั้งนี้ นายจตุพร กล่าวว่า แต่ถ้าหากเทศบาลตำบลกะรนยังดำเนินการต่อไป จะต้องมีมาตรการในการติดตามและฟื้นฟูพื้นที่ที่เกิดการกัดเซาะ ที่มีสาเหตุมาจากโครงสร้างดังกล่าว ตามแนวทางของทช. เช่น การเสริมทรายชายหาด หรือทำโครงสร้างชั่วคราวดักตะกอน บริเวณปลายโครงสร้างแข็ง และปรับความชันของสันทรายบริเวณหน้าโครงสร้างให้คล้ายคลึงกับสันทรายชายหาดตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการปรับปรุงแบบโครงสร้างที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง อีกประมาณ 190 เมตร โดยให้ปรับเปลี่ยนแนวโครงสร้างให้อยู่หลังแนวเส้นชายฝั่ง โดยคำนึงถึงความสมดุลตามลักษณะธรณีสัณฐานของหาด พร้อมทั้งปรับความชันของเนินทรายหน้าโครงสร้างทั้งหมดให้อยู่ในระดับเดียวกันหรืออยู่สูงกว่าโครงสร้าง เพื่อเป็นแนวชะลอความรุนแรงของคลื่นในฤดูมรสุม

 

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

 

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

 

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง