ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เขตไหนแชมป์นักซิ่งบนทางเท้า กทม. ?

สังคม
28 พ.ย. 61
12:03
2,639
Logo Thai PBS
เขตไหนแชมป์นักซิ่งบนทางเท้า กทม. ?
กทม.เปิดข้อมูล 2 เดือน จับ-ปรับ นักซิ่งบนทางเท้าเฉียด 1,000 คน ชี้วังทองหลางแชมป์สูงสุด 262 คน ปรับ 249 คน ส่วนเขตทวีวัฒนา และเขตจอมทองถูกจับแต่ไม่มีผู้ถูกปรับ

วันนี้ (28 พ.ย.2561) นายจิรวัฒน์ แพงมา ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจาก กทม.มีโครงการจับจริง ปรับจริง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า ล่าสุด ข้อมูลช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.2561 พบว่า 5 สำนักงานเขตที่มีสถิติการจับปรับสูงสุดในกรุงเทพมหานคร ได้แก่

อันดับ 1 เขตวังทองหลาง จับกุม 262 คน ตักเตือน 13 คน ปรับ 249 คน

อันดับ 2 เขตสวนหลวง จับกุม 197 คน ตักเตือน 26 คน ปรับ 144 คน

อันดับ 3 เขตลาดกระบัง จับกุม 181 คน ตักเตือน 76 คน ปรับ 105 คน

อันดับ 4 เขตวัฒนา จับกุม 99 คน ตักเตือน 3 คน ปรับ 96 คน

อันดับ 5 เขตหนองแขม จับกุม 235 คน ตักเตือน 155 คน ปรับ 80 คน 


ส่วนสำนักงานเขตที่มีสถิติการจับปรับน้อยที่สุดในกรุงเทพมหานคร ได้แก่

อันดับ 1 เขตบางรัก จับกุม 5 คน ตักเตือน 4 คน ปรับ 1 คน

อันดับ 2 เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จับกุม 29 คน ตักเตือน 28 คน ปรับ 1 คน

อันดับ 3 เขตบางเขน จับกุม 17 คน ตักเตือน 16 คน ปรับ 1 คน

อันดับ 4 เขตบางกอกน้อย จับกุม 1 คน ปรับ 1 คน

อันดับ 5 เขตบึงกุ่ม จับกุม 117 ตักเตือน 116 ปรับ 1 คน

สำนักงานเขตที่ไม่มีการจับ-ปรับ แต่ตักเตือน ได้แก่

1 เขตทวีวัฒนา จับกุม 13 คน ตักเตือน 13 คน

2 เขตจอมทอง จับกุม 23 คน ตักเตือน 23 คน 

ขณะที่สำนักสถิติแห่งชาติได้เผยแพร่สถิติคดีอุบัติเหตุจากการจราจรทางบกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจำแนกตามประเภทผู้ใช้ทาง ตั้งแต่ปี 2550-2558 พบว่า คนเดินเท้ามีคดีอุบัติเหตุจากการจราจรทางบกทั่วประเทศและในเขต กทม.

  • ปี 2550 ทั่วประเทศ 2,311 คดี กทม. 1,077 คดี
  • ปี 2551  ทั่วประเทศ 1,764 คดี กทม. 944 คดี
  • ปี 2552  ทั่วประเทศ 1,839 คดี กทม. 934 คดี
  • ปี 2553  ทั่วประเทศ 2,192 คดี กทม. 969 คดี
  • ปี 2554  ทั่วประเทศ 2,564 คดี กทม. 1,076 คดี
  • ปี 2555  ทั่วประเทศ 2,621 คดี กทม. 1,059 คดี
  • ปี 2556  ทั่วประเทศ 2,122 คดี กทม. 870 คดี
  • ปี 2557  ทั่วประเทศ 2,092 คดี กทม. 647 คดี
  • ปี 2558  ทั่วประเทศ 2,037 คดี กทม. ไม่พบข้อมูล

จากสถิติดังกล่าว ชี้ชัดว่า มีคดีคนเดินเท้าประสบอุบัติเหตุทุกปี โดยเฉลี่ยปีละ 2,172 คดี หรือใน 1 วัน มีคดีเกิดขึ้นถึง 6 คดี โดยสถิติตั้งแต่ปี 2550-2558 ยังพบว่า คนเดินเท้าเป็นประเภทผู้ใช้ทางที่มีคดีอุบัติเหตุมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ตามหลังคดีอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่ครองอันดับ 1 ในทุกปี ส่วนอันดับ 2 คือ รถยนต์นั่ง อันดับ 3 รถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิคอัพ) และอันดับ 4 คือ รถแท็กซี่


ทั้งนี้ สำนักเทศกิจ กทม. ยังคงรณรงค์โครงการจับจริง ปรับจริง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กำหนดเส้นทางจับปรับอีก 115 เส้นทาง บนถนนสายหลัก หรือจุดที่ผู้คนพลุกพล่านทั้ง 50 เขต เพื่อกวดขันผู้ขับขี่ที่ฉวยโอกาสใช้ทางเท้าเป็นเส้นทางเดินรถหวังลดอุบัติเหตุคนเดินเท้า

สำหรับประชาชนที่มีเบาะแสอยากแจ้งผู้กระทำผิดบนทางเท้า ทั้งการขับขี่รถจักรยานยนต์ จอดรถกีดขวาง หาบเร่แผงลอย หรือทิ้งขยะลงทางเท้า ตอนนี้กรุงเทพมหานคร ก็ยังรับแจ้งเบาะแสได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางไลน์, E-mail, เฟซบุ๊ก สำนักเทศกิจกรุงเทพมหานคร เบอร์โทรสายด่วนเทศกิจ 02-465-6644 หรือจะนำข้อมูลส่งไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึงสำนักเทศกิจ

ขอบคุณข้อมูลจาก

สำนักงานสถิติแห่งชาติ http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries21.html

http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่งฟ้องศาล 3 ข้อหาคนขับมอเตอร์ไซค์บนทางเท้าชน นร.

ป้าย- ทางพัง-นักบิดย้อนศร "ยอดฮิต"ปัญหาทางเท้าเมืองกรุง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง