ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“มอแกน” ท่ามกลางมรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลง

สังคม
5 ก.พ. 62
15:09
2,712
Logo Thai PBS
“มอแกน” ท่ามกลางมรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลง
สะท้อนปัญหา "มอแกน" บนเกาะสุรินทร์ ท่ามกลางมรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งการท่องเที่ยวที่รุกคืบ วิถีชีวิตที่ถูกจำกัดและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ด้านมูลนิธิชุมชนไท เสนอประกาศเขตคุ้มครองวัฒนธรรมมอแกนเกาะสุรินทร์ จัดโซนนิ่งหมู่บ้านหลังเหตุไฟไหม้

วันนี้ (5 ก.พ.2562) ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ นายไมตรี จงไกรจักร มูลนิธิชุมชนไท สะท้อนถึงวิถีชาวมอแกน บนเกาะบอนใหญ่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ว่า มอแกน ที่เกาะสุรินทร์ เป็นชาวเลดั้งเดิม ที่มีวิถีชีวิตผู้กพันกับท้องทะเล ทำมาหากินเก็บหอย หาปลา ทำประมง เพื่อเลี้ยงปากเลี่ยงท้องกินในครอบครัว และบางส่วนถ้าเหลือจะนำมาแลกเป็นของใช้อื่นๆ ต่อมาเมื่อมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ทำให้มอแกน ที่เคยอาศัยตามเกาะน้อยใหญ่ เช่น เกาะบอนเล็ก เกาะบอนใหญ่ เริ่มมีข้อจำกัดในสิทธิ์ที่ดิน เพราะถูกจัดให้มาร่วมกันอยู่บนเกาะบอนใหญ่ที่เพิ่งถูกไฟไหม้

แม้จะไม่ขัดแย้ง แต่วิถีมอแกนที่เคยมีอิสระในการหาปลาหาหอย ก็ถูกจำกัดแค่เฉพาะหากิน ดำน้ำจับปลาเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะช่วง 15 ปีที่ผ่านมา วิถีของมอแกนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลมากมาย

มอแกนชาย ต้องหาอาชีพอื่นๆ เช่น ช่วยทำงานในอุทยานฯ พายเรือให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะ ส่วนมอแกนหญิง และเด็กๆ จะนั่งรอนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมวิถีชีวิตในหมู่บ้าน ด้วยการขายผลิตภัณฑ์แกะสลัก เช่น เรือไม้ เต่าทะเล ถักสร้อยข้อมือที่พวกเขาผลิตเองมาวางขาย

การท่องเที่ยวชมหมู่บ้านมอแกน เป็นหนึ่งในทริปที่บริษัททัวร์ต้องจัดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปวันละมากกว่า 500-1,000 คนนักท่องเที่ยวบางคนยังมีอคติว่าถ้าไปเกาะสุรินทร์ ต้องไปชมมอแกน คล้ายกับไปดูสวนผีเสื้อไม่ได้ซึมซับและเคารพในวิถี

 

สิทธิบุคคล-สิทธิชุมชนที่หายไป

ไมตรี บอกว่า ชาวมอแกน ไม่ได้อยากเปลี่ยนวัฒนธรรมของพวกเขา แต่ต้องปรับให้อยู่กับความเปลี่ยน แปลงในวิถีชีวิตที่เกิดขึ้น ซึ่งการท่องเที่ยว เป็นหนึ่งรายได้ที่ช่วยหล่อเลี้ยง แม้จะไม่มากนักกับการที่ต้องนั่งกับพื้นทรายขายของ นั่งรอนักท่องเที่ยวที่อาจจะอุดหนุนเพียงไม่กี่คน แทนที่จะได้ไปหาหอย หาปลาตามเดิม ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยังไม่มีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องสิทธิอื่นๆ เช่น สิทธิด้านการศึกษา สิทธิการรักษาพยาบาล เพราะยังมีมอแกนที่ได้รับสัญชาติไม่ครบ ทำให้การเข้าถึงสิทธิของรัฐถูกจำกัด ซึ่งรวมไปถึงการจำกัดพื้นที่บ้านที่มีขนาดเพึยง 4-6 เมตร บางครอบครัวมีลูกเล็กๆ จำเป็นต้องแยกครอบครัว แต่กลับต้องอาศัยในบ้านหลังเดียวที่เคยพูดคุยบางครอบครัวอยู่ถึง 9 คนในบ้าน 

 

 

ข้อเสนอจากเหตุไฟไหม้ครั้งนี้ อยากให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช ต้องจัดผังชุมชนหรือโซนนิ่งพื้นที่บนเกาะบอนใหญ่ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของมอแกน เพราะพื้นที่ตรงนั้นทั้งอ่าวควรจะขยายพื้นที่ให้ชุมชนได้อยู่อาศัยที่ดีขึ้น การสร้างบ้านแบบเดิม และไม่จำกัดการการขยายบ้าน

อยากให้กันขอบเขตให้ชัดเจนด้วยการประกาศพื้นที่คุมครองวัฒนธรรมมอแกน เพื่อให้สิทธิกับมอแกนในการอยู่อาศัยบนพื้นที่นี้ โดยมีอุทยานเป็นที่ปรึกษาทำงานกับมอแกน ซึ่งเราพยายามให้จัดการเรื่องนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิ.ย.2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล เพื่อให้เขาอยู่แบบปลอดภัย

 

เปิดงานวิจัย วิถีชีวิตมอแกน.. 

ข้อมูลที่น่าสนใจ ในหนังสือ “วิถีชีวิตมอแกน…” เขียนโดย ดร.นฤมล อรุโณทัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับพลาเดช ณ ป้อมเพชร อรุณ แถวจัตุรัส ฟาเทอร์ และจีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์ ภายใต้โครงการนาร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวบรวมถึงความมั่นคงในการรักษาวิถีชีวิตแบบเดิมและการอยู่อาศัยบริเวณชายฝั่ง 

โดยระบุว่า ดังนั้น ในอดีตกลุ่มเรือและกลุ่มบ้านมอแกนมีขนาดเล็ก กระจายอยู่ในบริเวณต่างๆ และมีการโยกย้ายเป็น ครั้งคราวในหมู่เกาะสุรินทร์ มีชายหาดที่มอแกนเคยตั้งถิ่นฐานในอดีตกว่า 10 แห่ง รวมทั้งในบริเวณที่เป็นที่ทาการอุทยานแห่งชาติในปัจจุบันด้วย ดังนั้นควรจะให้สิทธิมอแกนในการเลือกสถานที่อยู่อาศัยและการตั้งหมู่บ้านได้

การมีหมู่บ้านขนาดใหญ่และแออัดนั้นไม่เป็นผลดีกับทั้งมอแกน และทรัพยากรธรรมชาติควรจะให้สิทธิมอแกนในการเลือกสถานที่อยู่อาศัย และการตั้งหมู่บ้านได้  

นอกจากนั้นควรจะรับรองความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของมอแกนในฐานะชนพื้นเมือง ที่เข้ามาทำมาหากินและตั้งเพิงพักบริเวณนี้ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครอง มิฉะนั้นมอแกนจะเป็นเช่นชุมชนชาวเลส่วนใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินและถูกไล่รื้อในอนาคต จะเป็นการทำลายสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้โดยสิ้นเชิง เพราะวิถีของชาวเลผูกพันกับทะเลอย่างยิ่ง ทางหน่วยราชการควรมีการประสานงานเพื่อรับรองสิทธิในที่อาศัยและที่ทามาหากินของมอแกน

ส่วนสิทธิพื้นฐานในการได้รับการรับรองสถานะบุคคลโดยหน่วยงานรัฐ พบว่ามอแกนเป็นชนพื้นเมืองที่เดินทางไปมาทำมาหากิน และอยู่อาศัยบริเวณเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะมะริด (รวมถึงหมู่เกาะสุรินทร์) มานับร้อยปีมาแล้ว เส้นพรมแดนที่ขีดขึ้นจึงเป็นเส้นสมมุติที่มากาหนดความเป็นรัฐในภายหลัง

 

 

 

ในปัจจุบันมีมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์มีกว่า 30 คนที่มีบัตรประชาชนที่เหลือเป็น “คนไร้รัฐ” และไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคล ดังนั้นควรจะมีการพิจารณากลุ่มที่เหลือ และควรมีการผลักดันให้มีการยอมรับวิถีชีวิตเร่ร่อน โดยรับรองสิทธิในการอพยพโยกย้ายและเยี่ยมญาติบริเวณเกาะต่างๆ 

ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานะบุคคลมอแกนนั้น ต้องดาเนินงานโดยพิจารณาถึงพื้นฐานทางวัฒนธรรมของมอแกน ต้องกระทาโดยละเอียดรอบคอบ มีเวลาที่เพียงพอในการเก็บข้อมูล และให้เกียรติกับผู้ที่ให้ข้อมูลด้วย การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานะบุคคลที่ดาเนินงานโดยหน่วยงานรัฐที่ผ่านมาบางส่วน

รวมทั้งการรับรองการเกิดของเด็กๆ ในชุมชนมอแกน บันทึกการเกิดของเด็กทุกคนและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อรับรองการเกิดและเพื่อให้ได้รับเอกสารรับรองบุคคลในรูปของใบสูติบัตร

 
 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 “มอแกน” หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นใคร

รวมน้ำใจช่วยชาวมอแกน

10 เรื่อง ที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ "มอแกน"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง