ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กรมชลฯ เตือนห้ามทำนาปรังรอบ 3 ฤดูแล้งนานน้ำไม่พอ

สิ่งแวดล้อม
11 มี.ค. 62
18:28
1,383
Logo Thai PBS
กรมชลฯ เตือนห้ามทำนาปรังรอบ 3 ฤดูแล้งนานน้ำไม่พอ
กรมชลประทาน เตือนเกษตรกรลุ่มเจ้าพระยา อย่าฝืนทำนาปรังรอบ 3 เหตุปีนี้ฤดูแล้งปีนี้อาจกระทบหลายพื้นที่ หลังพบปลูกข้าวนาปรังเกินแผนร้อยละ10 หรือคิดพื้นที่กว่า 5.8 ล้านไร่ ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุ 13-16 มี.ค.นี้ไทยเจอพายุฤดูร้อนเริ่มจากภาคอีสาน

วันนี้ (11 มี.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ในเขตชลประทาน จะมีน้ำใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงเดือนก.ค.นี้ แต่พบว่า พื้นที่เกษตรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการปลูกข้าวนาปรัง เกินแผนไปแล้วร้อยละ 10 ต้องขอให้เกษตรกรงดทำนาปรัง รอบที่ 3 เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในอนาคต

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยแผนใช้น้ำช่วงฤดูแล้ง โดยระบุว่าขณะนี้ปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือ 27,492 ล้านลูกบาศก์เมตร มีการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งไปแล้ว คิดเป็นร้อยละ 68 ของแผนทั้งประเทศ เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำ เพื่ออุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตรและอุตสาหกรรม ในเขตชลประทาน

สำหรับผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 61/62 ทั้งประเทศ เพาะปลูกไปแล้ว 8,590,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 82 ของแผน ในส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้วประมาณ 5,850,000 ไร่เกินแผนไปแล้วร้อยละ 10

ขอให้เกษตรกรงดทำนาปรังรอบที่ 3 เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้เพียงพอ เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าฤดูแล้งปีนี้ อาจเกิดขึ้นหลายพื้นที่ และระยะเวลายาวนานมากขึ้น

ด้านนายจานุวัตร เลิศศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำในทุกภาคส่วน รวมทั้งประเพณีสงกรานต์ ตลอดจนการรักษาระบบนิเวศทางน้ำ แต่ยังคงรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด 

 

 

เตือน 13-16 มี.ค.นี้ รับมือพายุฤดูร้อน

ส่วนสถาพอากาศในวันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศร้อนในตอนกลางวันไว้ด้วย

นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 13-16 มี.ค.นี้ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง เกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง